กดที่หัวข้อเพื่อดูคำแนะนำเบื้องต้น

คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่ผู้มาวัดป่าสุญญตาถามบ่อยๆ
มาปฏิบัติธรรมที่วัด ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

    คำแนะนำสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรม

  • แต่งกายสุภาพ ถูกกาลเทศะ เช่น เสื้อขาว (ไม่บางจนเกินไป) กางเกงขายาว,กระโปรงยาว สีขาวหรือดำ 
  • กรุณาจัดเตรียมยารักษาโรคประจำตัวมาให้พร้อม
  • สำหรับผู้มีอาการภูมิแพ้ ควรจัดเตรียมหน้ากากอนามัยมาด้วย
  • ควรจัดเตรียมไฟฉายมาด้วย
กิจกรรมในแต่ละวันทำอะไรบ้าง?
  • ๔.๐๐ น. สัญญาณระฆังดัง
  • ๔.๓๐ น. ทำวัตรเช้า 
  • ๕.๓๑-๗.๔๐ น.บำเพ็ญประโยชน์ ทำความสะอาดห้องอาหาร กวาดใบไม้ ล้างห้องน้ำ กวาดลาน 
  • ๗.๔๕ น. สัญญาณกลองดัง
  • ๘.๓๐ น.ทานอาหารเช้า ล้างจาน
  • ๑๐.๐๐ น.- ๑๘.๐๐ น. ปฏิบัติธรรม เดินจงกรม  บำเพ็ญประโยชน์ เช่น  ทำความสะอาดศาลาเรือ โบสถ์ ห้องสมุด พักผ่อนตามสะดวก
  • ๑๘.๐๐ สัญญาณระฆังดัง
  • ๑๘.๓๐ น. ทำวัตรเย็น
  • ๒๐.๓๐ น. พักผ่อน
ศัพท์ที่ควรใช้กับพระสงฆ์
บุญ คืออะไร?

ในพระพุทธศาสนา บุญ (บาลี: ปุญฺญ; สันสกฤต: ปุณฺย) หมายถึง คุณงามความดี ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ เรียกอีกอย่างว่ากุศล ในพระไตรปิฎกมักใช้คำว่า ปุญฺญ ตรงกันข้ามกับคำว่า บาป หรือ อปุญฺญ แต่ในคัมภีร์ชั้นหลังมักใช้คำว่า บาป มากกว่ากัน

 

ในอรรถกถากล่าวถึงเผื่อแผ่บุญไว้ว่าสามารถเผื่อแผ่เพิ่มให้แก่ผู้อื่นได้โดยไม่มีประมาณ เปรียบได้กับการจุดเทียนส่งต่อไปเรื่อย ๆ คือผู้จุดก็มีความสว่างอยู่ตามเดิม และความสว่างยังเพิ่มไปอีกกว้างขวางได้

 

วิธีทำบุญ 

ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ปุญญกิริยาวัตถุสูตร ระบุวิธีการทำบุญไว้ 3 อย่าง เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ได้แก่

ทานมัย ด้วยการให้

ศีลมัย ด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีมีระเบียบวินัย

ภาวนามัย ด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจ

คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาสังคีติสูตร ขยายความเพิ่มอีก 7 ประการ จึงรวมเป็น บุญกิริยาวัตถุ 10

ได้แก่

อปจายนมัย ด้วยการประพฤติอ่อนน้อม

เวยยาวัจจมัย ด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้

ปัตติทานมัย ด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น

ปัตตานุโมทนามัย ด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น

ธัมมัสสวนมัย ด้วยการฟังธรรม

ธัมมเทสนามัย ด้วยการสั่งสอนธรรม

ทิฏฐุชุกัมม์ ด้วยการทำความเห็นให้ตรง

อปจายนมัยและเวยยาวัจจมัยจัดเข้าในสีลมัย ปัตติทานมัยและปัตตานุโมทนามัยจัดเข้าในทานมัย ธัมมัสสวนมัยและธัมมเทสนามัยจัดเข้าในภาวนามัย ทิฏฐุชุกัมม์ได้ทั้งทาน ศีล และภาวนา

 

อ้างอิง แก้ไข

 พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

 พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์

 Marasinghe, MMJ (2003). "Puñña". In Malalasekera, GP; Weeraratne, WG. Encylopaedia of Buddhism (ใน ภาษาอังกฤษ) 7. สาธารณรัฐศรีลังกา: รัฐบาลศรีลังกา.

 อรรถกถาพระไตรปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต อรรถกถาสูตรที่ ๕ ประวัติพระอนุรุทธเถระ . อรรถกถาพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [1]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 1-7-52

 ปุญญกิริยาวัตถุสูตร, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย

[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=3 อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สังคีติสูตร]

พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย