#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

ผู้รู้จักนิพพานอย่างถูกต้อง

      ###ผู้รู้จักนิพพานอย่างถูกต้อง#!!!!

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๗, ว่าด้วยคำสอนอันเหมาะแก่อุปนิสัยฯ, หน้า ๙๙- ๑๐๐; จะนำมาเขียนสัก ๔ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""เฉพาะพวกที่มีใจสูงเหนือสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ที่อาจจะเข้าใจได้ถูกต้องว่า นิพพาน คือ อะไรกันแน่"" ใจสูงเหนือสิ่งทั้งหลาย หมายถึง จิตใจที่อิสรภาพเสรีภาพ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ๆ ด้วยประการทั้งปวง ก็คือ จิตใจที่เป็นนิพพานนั่นเอง; ผู้ใดมีจิตใจเป็นนิพพาน ผู้นั้นชื่อว่า เข้าใจได้ถูกต้องว่า นิพพาน คืออะไร เรียกว่า ปัจจัตตัง.

      ##ประโยคที่ ๒ ""และวางตนไว้ ในลักษณะที่เข้าพัวพันด้วยก็ไม่ใช่, เฉยเมยก็มิใช่ทั้งสองอย่าง"" จิตใจที่อิสระ คือ พระนิพพาน หรือจะเรียกว่า จิตเดิมแท้ก็ได้นั้น, เป็นสภาวะที่มีลักษณะไม่ยึดติดในสิ่งใด, ท่านจึงกล่าวว่า เข้าไปพัวพันกับสิ่งต่าง ๆ ก็ไม่ใช่ หรือจะเฉยเมยไม่รู้ไม่ชี้ ก็ไม่ใช่เหมือนกัน, ก็คือ เกี่ยวข้องด้วยสติปัญญานั่นเอง.

      ##ประโยคที่ ๓ ""ท่านเหล่านั้นย่อมรู้ว่า ขันธ์ทั้งห้าและสิ่งที่เรียกกันว่า "ตัวตน" อันเกิดขึ้นจากการประชุมพร้อมของขันธ์ทั้งห้านั้น, รวมทั้งวัตถุและรูปธรรมภายนอกทุกชนิด และทั้งปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของศัพท์และสำเนียง, ล้วนแต่เป็นของเทียม ดั่งเช่นความฝันและภาพมายาเสมอกันหมด"" ผู้แจ่มแจ้งต่อจิตเดิมแท้ ย่อมเห็นว่า ทุกสรรพสิ่งล้วนมายา.

      ##ประโยคที่ ๔ ""ท่านเหล่านั้นไม่เห็นว่ามีอะไรแตกต่างกัน ระหว่างมุนีกับคนธรรมดา"" ที่ว่า มุนีกับคนธรรดา ก็คือ ลักษณะของคู่ที่เรียกว่า คติทวินิยม; ปุถุชนมักติดอยู่กับสิ่งที่เป็นคู่ เช่น เข้าไปพัวพันกับเฉยเมย, มุนีกับคนธรรมดา, มีความคิดแบบแบ่งแยก แต่ผู้ที่เห็นแจ้งอยู่กับพระนิพพานนั้น ไม่มีความคิดในลักษณะแบ่งแยกเป็นคู่ ๆ. 

      ##ประโยคที่ ๕ ""หรือจะมีความคิดเดาเอาเอง ในเรื่องนิพพาน ก็หาไม่"" ผู้ที่ยังไม่เห็นแจ้งต่อพระนิพพาน และลังเลสงสัยคิดเดาเอาเอง เรียกว่า ปุถุชน, ผู้ที่เห็นแจ้งต่อพระนิพพาน โดยที่ไม่ต้องคิดเดาเอาเองด้วยเหตุผลใด ๆ เรียกว่า  อริยชน เช่น โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และสูงสุด ก็คือ อรหันต์. (๒๙ ธ. ค.๖๑)

No comments yet...

Leave your comment

75325

Character Limit 400