#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##ความจริงแท้เข้ากันได้#!!!

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๗, ว่าด้วยคำสอนอันเหมาะแก่อุปนิสัยฯ, หน้า ๑๐๓; ในตอนนี้มีความยาวพอสมควร ดังนั้นจะนำมาเขียนสัก ๓ ประโยคก่อน:-

      ##ประโยคที่ ๑ ""อาจารย์นิกายธยานะ ชื่อ หยวนกว๊อกแห่งวิงกา เกิดในตระกูลไต๋ ในเว็นเจา, เมื่อยังหนุ่มได้ศึกษาในสูตรและศาสตร์เป็นอันมาก เป็นผู้แตกฉานในหลักสมถะและวิปัสสนาแห่งนิกายเทนดาย; โดยที่ได้อ่านวิมลกีรตินิเทศสูตร ท่านได้ทราบถึงข้อลี้ลับแห่งใจของท่านเองอย่างปรุโปร่ง""

      พระสูตรที่เรียกว่า วิมลกีรตินิเทศ ฝ่ายนิกายเซนให้ความสำคัญมาก นักศึกษาเซนมักนำมาท่องบ่นสาธยายจนคล่องปาก, เป็นพระสูตรที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นอนัตตา คือไร้ตัวตน และสุญญตา คือว่างชนิดที่ไม่มีขอบเขต; ภิกษุหยวนกว็อกทราบถึงข้อลี้ลับแห่งใจตัวเอง ก็เพราะได้อ่านพระสูตรนี้.

      ##ประโยคที่ ๒ ""มีภิกษุรูปหนึ่งมีนามว่า อันแช็ก เป็นศิษย์ของพระสังฆปริณายก, เผอิญได้ไปเยี่ยมนมัสการท่านอาจารย์ผู้นั้น เมื่อได้มีธรรมสากัจฉากันเป็นเวลานานแล้ว ภิกษุอันแช็กได้สังเกตเห็นว่า ถ้อยคำของคู่สนทนานั้นลงกันได้ดีกับคำสอนต่าง ๆ ของพระสังฆปริณายก""

      ความจริงแท้มีหนึ่งเดียว กล่าวคือ ความว่าง ท่านเว่ยหล่างมักใช้คำว่า จิตเดิมแท้; ท่านหยวนกว็อก เมื่อได้อ่านวิมลกีรตินิเทศสูตร ก็เข้าถึงจิตเดิมแท้ ดังนั้นภิกษุอันแช็กจึงสังเกตเห็นว่า ถ้อยคำของท่านหยวนกว็อกกับคำสอนท่านเว่ยหล่างเข้ากันได้.

      ##ประโยคที่ ๓ ""(ภิกษุอันแช็ก) จึงถามขึ้นว่า ผมใคร่จะทราบนามอาจารย์ของท่าน ซึ่งได้สั่งสอนธรรมให้แก่ท่าน; หยวนกว็อกได้ตอบว่า ผมมีอาจารย์มากมายที่สอนผม ในขณะที่ผมศึกษาสูตรและศาสตร์ต่าง ๆ แห่งสำนักไวปูลยะ, แต่หลังจากนั้นมา เป็นเพราะได้อ่านวิมลกีรตินิเทศสูตร

      ผมจึงมองเห็นแจ่มแจ้งถึงความสำคัญของนิกายพุทธจิตตะ (คือนิกายธยานะ) แล้วในตอนนี้ ผมยังไม่มีอาจารย์คนใดที่จะพิสูจน์และยืนยันความรู้ของผม"" จากการสนทนากันระหว่างภิกษุอันแช็กกับภิกษุหยวนกว็อก จึงตกลงกันว่า จะไปพบพระสังฆปริณายก เพื่อจะได้ยืนยันว่า ความรู้นั้นถูกต้องจริงหรือไม่. (๓๑ ม. ค.๖๒)

No comments yet...

Leave your comment

18232

Character Limit 400