#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

#ธรรมหฤทัยอันถูกต้อง

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๗, ว่าด้วยคำสอนอันเหมาะแก่อุปนิสัยฯ, หน้า ๑๐๘; ที่จริงข้อความในบทที่จะนำมาเขียนนี้ มีความยาวพอสมควร แต่ที่จะยกมาเป็นแค่ส่วนสั้น ๆ เท่านั้น, ถ้าผู้อ่านต้องการรายละเอียด ให้ไปดูในหนังสือ "สูตรเว่ยหล่าง" โดยตรงอีกครั้ง; ข้อความที่จะนำมาเขียนมีดังนี้:-

      ""ในทันใดนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมาปรากฏขึ้นตรงหน้าของท่าน (พระสังฆปริณายกองค์ที่หก) และทำความเคารพท่าน; ภิกษุองค์นั้นได้กล่าวว่า กระผมชื่อฟองปิน เป็นชาวเสฉวน เมื่อครั้งกระผมอยู่ที่ประเทศอินเดียตอนใต้ กระผมได้พบพระสังฆปริณายกโพธิธรรม ท่านได้แนะนำให้กระผมกลับมายังประเทศจีน, ท่านได้บอกแก่กระผมว่า "ธรรมหฤทัยอันถูกต้อง พร้อมทั้งจีวร บาตร อันเราได้รับมอบต่อ ๆ ลงมาจากพระมหากัสสปะเถระนั้น บัดนี้ได้ตกทอดไปถึงพระสังฆปริณายกองค์ที่หก ซึ่งบัดนี้อยู่ที่ตำบลโซกาย แห่งชิวเจา...ฯลฯ""

      หัวใจสำคัญของพุทธศาสนานิกายเซน ก็คือ "ธรรมหฤทัยอันถูกต้อง" หมายถึง จิตเดิมแท้ นั่นเอง, ส่วนจีวรกับบาตรเป็นเพียงสัญลักษณ์ ผู้ที่มีสิทธิ์รับจีวรและบาตรนั้น จะต้องเห็นแจ้งจิตเดิมแท้ก่อน อย่างเช่น พระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า ที่ได้รับจากพระสังฆปริณายกองค์ที่สี่ ก็เพราะเห็นแจ้งจิตเดิมแท้ก่อน;

      พระสังฆปริณายกองค์ที่หก (เว่ยหล่าง) ที่ได้รับจากพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า ก็เพราะเห็นแจ้งจิตเดิมแท้เช่นกัน, ฉะนั้น หัวใจที่สำคัญ หมายถึง ธรรมหฤทัยอันถูกต้อง กล่าวคือ "จิตเดิมแท้" ส่วนจีวรกับบาตร เป็นเพียงสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่มีจีวรและบาตรนี้ คือ ผู้ที่รู้แจ้งเห็นจริง. (๑๓ พ. ค.๖๒)

No comments yet...

Leave your comment

69726

Character Limit 400