#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##ภาวะที่แท้แห่งจิต#!!!

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๘, หน้า ๑๑๗; จะนำมาเขียนสัก ๓ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""เขาก็จะเข้าใจดีว่า นิรมานกายทั้งหมดเป็นส่วนเดียวกับภาวะที่แท้แห่งจิต"" 

      คำว่า ภาวะที่แท้แห่งจิต หมายถึง จิตเดิมแท้, คำว่า นิรมานกาย หมายถึง การทำหน้าที่ของจิตเดิมแท้นั่นเอง ดังคำกล่าวที่ว่า "น้ำไหลนิ่ง"; จิตเดิมแท้เป็นภาวะที่ปราศจากความคิดปรุงแต่งด้วยประการทั้งปวง ดังนั้นการทำหน้าที่ของจิตเดิมแท้จึงมีสมรรถนะคล่องแคล่วอ่อนโยน เรียกว่า กัมมนีโย คือ ควรแก่การงาน; จะเห็นได้ว่า นิรมานกาย หมายถึง การทำหน้าที่ของจิตเดิมแท้.

      ##ประโยคที่ ๒ ""เขาบรรลุความเป็นอิสระ อภิญญาและสมาธิ ซึ่งทำให้เขาสามารถช่วยเหลือมนุษยชาติอันเป็นงานแสนลำบากได้อย่างง่ายดาย เสมือนกับว่าเป็นการเล่นสนุกของเขา""

      คำว่า อภิญญา แปลว่า รู้ยิ่ง หมายถึง ความรู้แจ้งเห็นแจ้งของจิตเดิมแท้; คำว่า สมาธิในที่นี้ หมายถึง สมาธิของจิตเดิมแท้ เป็นสมาธิในระดับสูงสุด ซึ่งมีลักษณะบริสุทธิ์ ตั้งมั่น และควรแก่การงาน, ท่านชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่เห็นแจ้งจิตเดิมแท้แล้ว การสอนผู้อื่นให้เห็นแจ้งตาม เป็นของง่ายดาย.

      ##ประโยคที่ ๓ ""บุคคลเหล่านี้ ล้วนเป็นคนที่ได้ตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่งจิตมาทั้งนั้น""

      ท่านยืนยันว่า บุคคลที่มีความสามารถแนะนำให้ผู้อื่นเห็นแจ้งตามได้โดยง่ายดายต่อจิตเดิมแท้นั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่แนะนำเองก็ได้ตระหนักเห็นชัดต่อจิตเดิมแท้แล้ว; สิ่งที่เรียกว่า จิตเดิมแท้เป็นสัจธรรมสูงสุด จะเรียกว่า พระนิพพานก็ได้ ซึ่งเป็นอมตธรรม คือ สิ่งที่ไม่ตาย ผู้ใดเห็นแจ้งเข้าถึง ผู้นั้นย่อมไม่มีความทุกข์เลย. (๓ ต. ค.๖๒)

No comments yet...

Leave your comment

57735

Character Limit 400