#สัจจะไร้สิ่งคู่.
#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.
##เทคนิคในการถ่ายทอด#!!!
##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๘, หน้า ๑๑๙; จะนำมาเขียนสัก ๔ ประโยค ดังนี้ :-
##ประโยคที่ ๑ ""จาง (จางฮางจง) กล่าวว่า "เนื่องจากวันนั้น ท่านอภัยความผิดของข้าพเจ้าด้วยความเมตตาอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงได้บวชเป็นภิกษุและศึกษาพระพุทธศาสนาเรื่อยมาด้วยความพากเพียร"""
สมัยที่จางฮางจงยังเป็นฆราวาส ได้รับจ้างจากเหล่าศิษย์ท่านชินเชาให้มาฆ่าพระสังฆปริณายกองค์ที่หก แต่กระทำไม่สำเร็จ และได้รับการให้อภัยจากพระสังฆปริณายก ด้วยจิตสำนึก จึงตัดสินใจบวชเป็นภิกษุ.
##ประโยคที่ ๒ ""แม้กระนั้น ก็ยังรู้สึกว่า ยากที่จะตอบแทนพระคุณท่านได้เพียงพอ นอกจากข้าพเจ้าจะสามารถแสดงความกตัญญูได้ด้วยการเผยแพร่ธรรมเพื่อความหลุดพ้นแก่สามัญสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น""
จางฮางจงได้พรรณนาถึงการกระทำไม่ดีของตนที่มีต่อพระสังฆปริณายกและยังได้รับการให้อภัย จึงมองเห็นว่า การแสดงออกซึ่งความกตัญญูที่พอจะลบล้างความผิดของตนได้ ก็คือ การเผยแพร่ธรรมสู่เพื่อนมนุษย์.
##ประโยคที่ ๓ ""ในการศึกษามหาปรินิพพานสูตรนั้น ข้าพเจ้าพยายามอ่านอยู่เสมอ แต่ก็ไม่เข้าใจถึงความหมายของคำว่า ถาวรและไม่ถาวร, ขอพระคุณท่านได้โปรดกรุณาอธิบายย่อ ๆ ให้ข้าพเจ้าด้วย""
จางฮางจงได้ยกข้อความในมหาปรินิพพานสูตรมาถามพระสังฆปริณายกถึงคำว่า "ถาวรและไม่ถาวร" ตามความเข้าใจของจางฮางจง, ถาวร หมายถึง ธรรมชาติแห่งพุทธะ, ไม่ถาวร หมายถึง สิ่งปรุงแต่งทั้งปวง แต่พระสังฆปริณายกตอบตรงกันข้าม.
##ประโยคที่ ๔ ""พระสังฆปริณายกตอบว่า "สิ่งที่ไม่ถาวร ก็คือ ธรรมชาติแห่งพุทธะ, สิ่งที่ถาวร ก็คือ จิตใจที่มีลักษณะต่าง ๆ ไป ตลอดจนธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศลด้วย""
การที่พระสังฆปริณายกตอบอย่างนี้ ก็เพราะคนส่วนมากมักยึดติดในคำพูดหรือตัวอักษร เช่น พอพูดว่า พุทธะเป็นสิ่งถาวร ก็เข้าไปยึดติดอยู่กับความคิดว่า "พุทธะถาวร" ดังนั้นท่านจึงพูดเพื่อให้ปล่อยวางความคิดว่า "พุทธะถาวร" แล้วจึงจะเข้าถึง "พุทธะที่แท้จริง" (๑๓ พ. ย.๖๒)