#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##เบื้องต้นของการศึกษา#

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๑๐, หน้า ๑๓๑- ๑๓๒; จะนำมาเขียนสัก ๒ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""ธรรมสามประเภท นั่นคือ: ขันธ์ อายตนะ ธาตุ""

      หลักในการเผยแพร่ ในเบื้องต้นท่านเว่ยหล่างให้เรียนรู้เรื่อง ขันธ์ อายตนะ และธาตุ; คำว่า ขันธ์ หมายถึง องค์ประกอบของชีวิตห้าส่วน ได้แก่ รูป คือ ร่างกาย, เวทนา คือ ความรู้สึก, สัญญา คือ ความจำ, สังขาร คือ ความคิด, และวิญญาณ คือ ความรู้แจ้งอารมณ์.

      คำว่า อายตนะ หมายถึง อายตนะภายในหก ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ, และอายตนะภายนอกหก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์.

      คำว่า ธาตุ หมายถึง ธาตุ ๑๘ ได้แก่ ธาตุตา ธาตุหู ธาตุจมูก ธาตุลิ้น ธาตุกาย ธาตุใจ, ธาตุรูป ธาตุเสียง ธาตุกลิ่น ธาตุรส ธาตุโผฏฐัพพะ ธาตุธรรมารมณ์, ธาตุวิญญาณทางตา ธาตุวิญญาณทางหู ธาตุวิญญาณทางจมูก ธาตุวิญญาณทางลิ้น ธาตุวิญญาณทางกาย และธาตุวิญญาณทางใจ.

      หลักธรรมเหล่านี้ เป็นเบื้องต้นในการศึกษาพระพุทธศาสนา เรียกว่า เป็น ก ข ก กา ก็ได้.

      ##ประโยคที่ ๒ ""เนื่องจากภาวะที่แท้แห่งจิต เป็นสิ่งก่อกำเนิดธรรมทั้งหลาย จึงเรียกว่า วิญญาณคลัง ในทันทีที่เริ่มวิถีแห่งความคิดนึก หรือวิถีแห่งการหาเหตุผล ภาวะที่แท้แห่งจิตก็กลายรูปเป็นวิญญาณประเภทต่าง ๆ เมื่อวิญญาณซึ่งรับรู้ในอารมณ์ทั้งหกเกิดขึ้น ก็จะสำเหนียกรู้ในวัตถุแห่งอารมณ์ทั้งหกนั้น จากทวารทั้งหก""

      ในประโยคแรก ท่านเว่ยหล่างได้กล่าวถึงเรื่อง ขันธ์ห้า อายตนะสิบสอง และธาตุสิบแปด ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นของความทุกข์และความไม่เป็นทุกข์, ในประโยคที่สองนี้ ท่านชี้ให้เห็นว่า เดิมจิตใจว่างอยู่ก่อน เรียกว่า ภาวะที่แท้แห่งจิต (จิตเดิมแท้).

      คนทั่วไปในเมื่อผัสสะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มักจะไม่มีสติปัญญา เช่น อาศัยตา รูป จักขุวิญญาณ เรียกว่า ผัสสะทางตา ถ้ามีอวิชชาเข้ามาผสมในขณะแห่งผัสสะ ความคิดปรุงแต่งก็เกิดขึ้น และนำไปสู่ความทุกข์ แต่ถ้ามีวิชชาในขณะแห่งผัสสะ ความคิดปรุงแต่งก็ไม่มี ความทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น. (๑๗ มิ. ย.๖๓)

No comments yet...

Leave your comment

31325

Character Limit 400