#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##กิจของธาตุสิบแปด#!!!

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๑๐, หน้า ๑๓๓; จะนำมาเขียนสัก ๒ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑"ดังนั้นกิจของธาตุสิบแปด จึงเนื่องมาจากแรงกระตุ้นของภาวะที่แท้แห่งจิต ไม่ว่าบุคคลนั้นจะปฏิบัติกิจในทางชั่วหรือปฏิบัติกิจในทางดี ก็แล้วแต่ว่าภาวะที่แท้แห่งจิต""

      คำว่า ธาตุสิบแปด หมายถึง อายตนะภายในหก ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ, อายตนะภายนอกหก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์, และวิญญาณหก ได้แก่ วิญญาณทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ; ที่ท่านกล่าวว่า กิจของธาตุสิบแปด หมายถึง การทำหน้าที่ของธาตุทั้งสิบแปดอย่างนั่นเอง.

      ถ้าเป็นจิตว่างอยู่ตามธรรมชาติ คือ ไม่มีทั้งกิเลส ไม่มีทั้งปัญญา ครั้นธาตุสิบแปดทำหน้าที่ สิ่งที่เรียกว่า อวิชชาก็แทรกแซงเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงเป็นเหตุให้การทำหน้าที่ของธาตุสิบแปด กลายเป็นความชั่วบ้าง เป็นความดีบ้าง; ดูประโยคถัดไป.

      ##ประโยคที่ ๒ ""จะอยู่ในอารมณ์เช่นใด อารมณ์ชั่วหรืออารมณ์ดี กิจอันชั่วก็เป็นลักษณะของสามัญชน กิจอันดีก็เป็นลักษณะของพุทธะ เพราะว่า มีความรู้สึกที่เป็นของคู่ประเภทตรงกันข้าม ฝังติดเป็นนิสัยอยู่ในภาวะที่แท้แห่งจิต""

      ท่านชี้ให้เห็นว่า การทำหน้าที่ของธาตุสิบแปดที่ประกอบด้วยอวิชชา ก็จะอยู่ในลักษณะของคติทวินิยม คือ ยึดติดอยู่กับสิ่งที่เป็นคู่, ในประโยคนี้ท่านยกคำว่า สามัญชนกับพุทธะ; สิ่งที่เป็นคู่มีอยู่หลาย ๆ อย่าง เช่น ชั่ว- ดี, บาป- บุญ, ทุกข์- สุข, ชัง- รัก, ขาดทุน- กำไร, มืด- สว่าง, ต่ำ- สูง, สั้น- ยาว, เล็ก- ใหญ่, น้อย- มาก, หยาบ- ละเอียด, ใกล้- ไกล เป็นต้น.

      แต่ถ้าเป็นจิตว่างระดับอรหันต์ ซึ่งบริบูรณ์อยู่ด้วยสติปัญญา การทำหน้าที่ของธาตุสิบแปด ก็จะเป็นไปอย่างถูกต้องและบริสุทธิ์ ปราศจากความคิดปรุงแต่งที่เป็นคู่ ๆ ด้วยประการทั้งปวง. (๒๑ ก. ค.๖๓)

No comments yet...

Leave your comment

46738

Character Limit 400