#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##จิตว่าง คือ พุทธะ#!!!

      ##คำสอนท่านฮวงโป, ตอนที่ ๒๖๗, หน้า ๙๔; จะนำมาเขียนสัก ๓ ประโยค ดังนี้:-

      ##ประโยคที่ ๑ ""ถาม..พุทธะ คือ อะไร ?""

      จากคำถามสั้น ๆ ของศิษย์ แสดงว่า เขายังมีความลังเลสงสัย ยังไม่ชัดเจนต่อพุทธะว่า คืออะไร ? เพราะถูกความคิดปรุงแต่งปิดบัง ถูกมิจฉาทิฏฐิครอบงำ; พอพูดถึงพระพุทธเจ้า ในฝ่ายเถรวาทก็มีอยู่หลาย ๆ องค์ เช่น คำสอนที่ว่า ในภัททกัปป์นี้ มีพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ได้แก่...

      ๑) พระกุกกุสันโธ. ๒) พระโกนาคมโน. ๓) พระกัสสโป; สามองค์นี้ เป็นพระพุทธเจ้าในอดีต. ๔) พระสมณโคดม หมายถึงพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน. และ ๕) พระศรีอริยเมตไตรย์ คือ พระพุทธเจ้าที่จะมาอุบัติในอนาคตต่อไป คำสอนในลักษณะอย่างนี้ ทำให้ชาวพุทธเกิดความสับสนเหมือนกัน; ผู้เขียนมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าที่เป็นองค์พระศาสดา มีองค์เดียวเท่านั้น คือพระสมณโคดม หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ส่วนพุทธภาวะนั้น เป็นอมตะนิรันดร ยังไม่ตาย; ทีนี้ มาดูคำตอบของท่านฮวงโปกัน.

      ##ประโยคที่ ๒ ""ตอบ..จิตของเธอ คือ พุทธะ, พุทธะ คือ จิต, จิตกับพุทธะ เป็นสิ่งที่ไม่แยกจากกันได้ เพราะฉะนั้น จึงมีคำจารึกไว้ว่า สิ่งซึ่งได้แก่ จิต นั่นแหละคือ พุทธะ""

      ศิษย์ถามว่า พุทธะ คือ อะไร ? ท่านฮวงโปก็ตอบว่า "จิต คือ พุทธะ" จิตที่เป็นพุทธะ หมายถึง จิตว่าง ซึ่งเป็นอสังขตธรรม คือ สภาวะที่ปราศจากความปรุงแต่งด้วยประการทั้งปวง 

      ปุถุชนทั่วไป พอได้ยินคำว่า "จิต" ก็ให้ความหมายไปยังจิตที่เป็นนามธรรม เช่น จิตที่เป็นความจำ (สัญญา), จิตที่เป็นความคิด (สังขาร), จิตที่เป็นการรับรู้อารมณ์ (วิญญาณ) เป็นต้น แต่จิตที่เป็นพุทธะนั้น มิใช่จิตที่เป็นนามธรรมเหล่านี้; ท่านฮวงโปได้กล่าวต่อไปว่า.

      ##ประโยคที่ ๓ ""ถ้ามันเป็นสิ่งอื่นนอกไปจากจิต มันก็เป็นสิ่งอื่นนอกไปจากพุทธะโดยแน่นอน""

      ท่านชี้ให้เห็นว่า ถ้าเป็นสิ่งอื่นนอกไปจากจิตว่าง (สุญญตา) ก็เป็นสิ่งอื่นนอกไปจากพุทธะ, เพราะว่า จิตว่าง ก็คือ พุทธะ, จิตว่างกับพุทธะ คือ สภาวะอันเดียวกัน ซึ่งเป็นอสังขตธรรม ดังที่ได้กล่าวแล้ว

      ถ้าเป็นสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อสังขตธรรม ก็เป็นสังขตธรรมทั้งสิ้น มีลักษณะปรุงแต่งเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และแตกสลายดับไปเป็นที่สุด ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า "ถ้ามันเป็นสิ่งอื่นนอกไปจากจิต มันก็เป็นสิ่งอื่นนอกไปจากพุทธะโดยแน่นอน". (๒๙ ต. ค.๖๓)

No comments yet...

Leave your comment

30899

Character Limit 400