#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##จิตเดิมแท้ นิ่ง สงบ#!!!.

      ##คำสอนท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๑๐, คำสอนครั้งสุดท้าย, หน้า ๑๓๕; จะนำมาเขียนสัก ๓ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""ในเดือนแห่งปีเยนซี อันเป็นปีที่หนึ่ง แห่งรัชสมัยไตกิ๊กหรือเยนโว พระสังฆปริณายกได้สั่งให้ศิษย์บางท่านไปสร้างสถูปไว้แห่งหนึ่ง ในวัดกว๊อกเยน ที่ซุนเจา และกำชับให้แล้วเสร็จโดยด่วน พอจวนสิ้นฤดูร้อนในปีต่อมา สถูปนั้นก็เสร็จเรียบร้อย""

      ท่านเว่ยหล่างมองเห็นว่า อีกไม่นานชีวิตของท่านก็จะหมดอายุขัย จึงได้สั่งให้สานุศิษย์สร้างสถูปไว้ เพื่อเป็นที่เก็บศพหรือเก็บอัฐิ; ผู้เห็นแจ้งธรรม ย่อมไม่ประมาทในทุกขั้นตอนของชีวิต จะยกตัวอย่างพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระศาสดา ก่อนที่จะดับขันธปรินิพพาน พระองค์ได้ตรัสไว้เป็นปัจฉิมโอวาทว่า "สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด".

      ##ประโยคที่ ๒ ""ครั้นถึงวันขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนเจ็ด พระสังฆปริณายกประชุมสานุศิษย์ของท่านและกล่าวว่า: ฉันจะจากโลกนี้ไปในเดือนแปด หากใครยังมีข้อสงสัยอันใดเกี่ยวกับหลักธรรมแล้ว จงถามเสียให้ทันเวลา เพื่อท่านจะได้เข้าใจให้กระจ่าง เพราะท่านอาจไม่พบใครที่จะสอนท่านอีก เมื่อฉันจากไปแล้ว""

      ท่านเว่ยหล่างอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่เป็น แต่ท่านมีตำแหน่งถึงพระสังฆปริณายกองค์ที่หกของพุทธศาสนานิกายเซน ท่านกล่าวบ่อย ๆ ว่า ธรรมะที่แท้จริงนั้น ไม่ได้อยู่ในตำรา แต่อยู่ที่จิตใจ โดยเฉพาะก็คือ จิตเดิมแท้ ซึ่งเป็นสภาวะที่อยู่เหนือคำพูดของมนุษย์ แต่ท่านเว่ยหล่างมีเทคนิคเป็นพิเศษในการถ่ายทอด มีปฏิภาณอย่างฉลาดในการสอน.

      ##ประโยคที่ ๓ ""ข่าวร้ายทำให้ท่านฟัตห่อยและสานุศิษย์อื่น ๆ น้ำตาไหล ส่วนท่านชินวุยนั้น ตรงกันข้าม คงสงบนิ่ง พระสังฆปริณายกกล่าวชมเชยท่านชินวุยว่า "อาจารย์หนุ่มชินวุยคนเดียวเท่านั้นในที่นี้ ที่ได้บรรลุถึงฐานะของจิตที่ไม่ยินดีหรือยินร้ายต่อความดีหรือความชั่ว ไม่รู้จักดีใจหรือเสียใจ" 

      ผู้ที่ยังไม่เห็นแจ้งต่อจิตเดิมแท้ เมื่อกระทบอารมณ์ ก็จะเกิดความยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง เป็นจิตที่อ่อนไหวง่าย ขึ้น ๆ ลง ๆ ฟู ๆ แฟบ ๆ แต่ผู้ที่เห็นแจ้งจิตเดิมแท้แล้ว มีสติปัญญาที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง สามารถป้องกันไม่ให้ความยินดี ความยินร้ายเกิดขึ้นมาครอบงำ จิตใจก็นิ่ง สงบ ปกติ. (๑๒ ธ. ค.๖๓)

      

No comments yet...

Leave your comment

52204

Character Limit 400