#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##ปัญญาของพุทธภาวะ.

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๑๐, หน้า ๑๓๘- ๑๓๙; จะนำมาเขียนสัก ๕ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""พระสังฆนายกกล่าวเสริมต่อไปว่า ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย จงชำระจิตของท่านให้บริสุทธิ์และฟังฉันพูด ใครที่ปรารถนาจะบรรลุปัญญาของพุทธะ ซึ่งรู้ไปในทุก ๆ สิ่ง เขาก็ควรรู้จักสมาธิเฉพาะวัตถุประสงค์ และสมาธิเฉพาะแบบในทุก ๆ กรณี""

      คำว่า ปัญญาของพุทธะ หมายถึง สภาวะของจิตเดิมแท้ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ปราศจากความปรุงแต่งด้วยประการทั้งปวง, ว่างจากกิเลส แต่เปี่ยมสมบูรณ์อยู่ด้วยสติปัญญาถึงที่สุด.

      ##ประโยคที่ ๒ ""เราควรเปลื้องตนออกเสียจากความผูกพันในวัตถุทั้งหลาย และวางท่าทีต่อสิ่งเหล่านั้นให้เป็นกลาง ไม่ยินดี ยินร้าย อย่าปล่อยให้ชัยชนะหรือความปราชัย และการได้มาหรือการสูญเสียก่อความกังวลแก่เราได้""

      ท่านชี้ให้มองเห็นโทษของความยึดติดผูกพันอยู่กับวัตถุต่าง ๆ แต่ให้เกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายด้วยสติปัญญา ไม่เกิดความยินดีความยินร้าย ต่อสิ่งที่ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.

      ##ประโยคที่ ๓ ""จงสงบและเยือกเย็น จงสุภาพและอารีอารอบ จงซื่อตรงและเที่ยงธรรม สิ่งเหล่านั้นคือ สมาธิเฉพาะวัตถุประสงค์""

      ท่านแนะนำให้เรียนรู้และทำความเข้าใจถึงความหมายของคำว่า สมาธิเฉพาะวัตถุประสงค์ ท่านก็ได้ยกตัวอย่างเช่น มีความสงบและเยือกเย็น มีความสุภาพและอารีอารอบ มีความซื่อตรงและเที่ยงธรรม, การใช้สมาธิในระดับจิตเดิมแท้ เพื่อทำหน้าที่เฉพาะเรื่อง ๆ ไป ท่านใช้คำว่า สมาธิเฉพาะวัตถุประสงค์.

      ##ประโยคที่ ๔ ""ในทุก ๆ โอกาส ไม่ว่าเราจะยืนเดินนั่งหรือนอน จงเป็นคนตรงแน่ว เราก็จะดำรงอยู่ในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ และไม่ต้องเคลื่อนไหวแม้สักน้อย เราก็เสมือนกับอยู่ในอาณาจักรแห่งดินแดนอันบริสุทธิ์ สิ่งเหล่านี้คือ สมาธิเฉพาะแบบ""

      จิตเดิมแท้ ชื่อว่า เป็นอาณาจักรแห่งดินแดนอันบริสุทธิ์ การเผชิญหน้าประจักษ์แจ้งอยู่กับจิตเดิมแท้ในทุกอิริยาบถ ไม่ปล่อยให้ความคิดปรุงแต่งเกิดขึ้นมาครอบงำ ท่านเรียกว่า สมาธิเฉพาะแบบ.

      ##ประโยคที่ ๕ ""ผู้ที่ปฏิบัติตามสมาธิทั้งสองอย่างนี้ ได้ครบถ้วนแล้ว ก็เสมือนกับเนื้อนาที่ได้หว่านเมล็ดพืชลงไป แล้วกลบไว้ด้วยโคลน เมล็ดพืชจึงได้รับการบำรุงและเจริญเติบโต ตราบจนกระทั่งผลิผล""

      ท่านยืนยันว่า ผู้ที่ปฏิบัติตามสมาธิทั้งสองอย่างดังกล่าว เปรียบดั่งการหว่านเมล็ดพืชลงในเนื้อนาที่ดี เมื่อปฏิบัติถูกต้อง ก็เป็นที่แน่นอนว่า เมล็ดพืชก็ย่อมเจริญงอกงาม ตราบจนกระทั่งผลิดอกออกผลอย่างสมบูรณ์. (๑๐ มี. ค.๖๔)

No comments yet...

Leave your comment

86096

Character Limit 400