#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##เบื้องหลังความคิด มีจิตพุทธะ.

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, หมวดที่ ๑๐, หน้า ๑๔๓- ๑๔๔; จะนำมาเขียนสัก ๕ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""ถ้าพุทธะถูกครอบงำด้วยความหลงผิดอยู่ในภาวะที่แท้แห่งจิต เขาก็เป็นสามัญสัตว์""

      คำว่า พุทธะ ก็คือ จิตที่สะอาด สว่าง สงบ; ที่ท่านกล่าวว่า ถ้าพุทธะถูกครอบงำด้วยความหลงผิดอยู่ในภาวะที่แท้แห่งจิต เขาก็เป็นสามัญสัตว์ หมายความว่า ถ้าพุทธะถูกอวิชชาครอบงำ ผู้นั้นชื่อว่า เป็นปุถุชนคนธรรมดา.

      ##ประโยคที่ ๒ ""ความบริสุทธิ์ในภาวะที่แท้แห่งจิต ทำให้สามัญสัตว์เป็นพุทธะ""

      คำว่า ความบริสุทธิ์ในภาวะที่แท้แห่งจิต หมายความว่า จิตเดิมแท้ถูกเปิดเผยออกมา ก็เพราะสิ่งที่เรียกว่า โมหะ คือ ความหลงผิดถูกเปลื้องออกไปจากจิตใจ จึงทำให้ผู้นั้นกลายเป็นพุทธะ หมายถึง จิตรู้ จิตตื่น จิตเบิกบาน.

      ##ประโยคที่ ๓ ""ความไม่บริสุทธิ์ในภาวะที่แท้แห่งจิต ย่อมเปลี่ยนพุทธะให้เป็นเป็นสามัญสัตว์""

      ผู้ที่ยังไม่เห็นแจ้งจิตเดิมแท้ เรียกว่า ปุถุชน ก็ได้ เรียกว่า สามัญสัตว์ ก็ได้ มีความหมายอย่างเดียวกัน จิตอยู่ในฝ่ายโลกิยะ ส่วนผู้ที่เห็นแจ้งจิตเดิมแท้แล้ว ชื่อว่า เป็นพุทธะ หรือจะเรียกว่า อริยชน ก็ได้ จิตอยู่ในฝ่ายโลกุตระ.

      ##ประโยคที่ ๔ ""เมื่อจิตของท่านคิดหรือเศร้าหมอง ท่านก็เป็นสามัญสัตว์ ซึ่งมีธรรมชาติแห่งพุทธะแฝงอยู่ภายใน""

      ท่านชี้ให้เห็นว่า แม้จิตมีความคิดปรุงแต่งหรือจิตเศร้าหมอง ซึ่งในขณะนั้น เขาก็ได้ชื่อว่า เป็นสามัญสัตว์ แต่เบื้องหลังของความคิดปรุงแต่ง เบื้องหลังของจิตที่เศร้าหมอง มีพุทธะแฝงอยู่ พุทธะมิได้สูญหายไปไหน.

      ##ประโยคที่ ๕ ""ตรงกันข้าม ถ้าท่านทำจิตให้บริสุทธิ์และตรงแน่ว แม้เพียงชั่วขณะเดียว ท่านก็เป็นพุทธะ""

      จิตบริสุทธิ์ หมายถึง จิตเดิมแท้ การประจักษ์แจ้งอยู่กับจิตเดิมแท้ เรียกว่า ความตรงแน่ว ท่านกล่าวในทำนองว่า การมีปัญญาเห็นแจ้งอยู่กับจิตเดิมแท้ แม้เพียงชั่วขณะ นั่นชื่อว่า ได้เป็นพุทธะแล้ว. (๒๔ เม. ย.๖๔)

No comments yet...

Leave your comment

25475

Character Limit 400