#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##กษันติฤาษี คือจิตว่าง.

      ##คำสอนท่านฮวงโป, ตอนที่ ๓๐๐, หน้า ๑๐๘; จะขอแบ่งออกเป็น ๓ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""ในทันทีที่พวกเธอเริ่มแสวงหาอะไรบางอย่างภายนอกจากจิตของเธอเอง พวกเธอย่อมเป็นเหมือนกลิราชา ผู้มัวเมาด้วยการล่าเนื้อ""

      ข้อความนี้ ท่านอาจารย์พุทธทาสได้อธิบายไว้ว่า "กลิราชาเป็นผู้ที่มีคำกล่าวไว้ว่า ได้ทำการหั่นแหลกฤาษีจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีโพธิสัตว์องค์หนึ่งรวมอยู่ด้วย โพธิสัตว์นี้คือ กษันติฤาษีผู้ถูกแล่เนื้อ เพราะการถือขันติมั่นไม่ปริปากปฏิเสธคุณของขันติธรรม" เนื้อ หมายถึง ความคิดปรุงแต่ง ความรู้สึกปรุงแต่งในระดับต่าง ๆ, กลิราชา หมายถึง ผู้ที่ยึดติดอยู่ในความคิด ความรู้สึกของตัวเอง.

      ##ประโยคที่ ๒ ""แต่พอพวกเธอห้ามกันจิตของพวกเธอเสียจากการท่องเที่ยวไปจากภายนอกตัวมันเองเท่านั้น เธอเป็นกษันติฤาษีองค์หนึ่งขึ้นมาแล้ว""

      ความคิดปรุงแต่งทั้งหลาย ความรู้สึกปรุงแต่งทั้งปวง เปรียบเหมือนกับเนื้อ, ผู้ที่หลงไหลมัวเมาอยู่กับความคิด ความรู้สึก เปรียบเหมือนกับกลิราชา ส่วนจิตว่าง ซึ่งเป็นอสังขตธรรม ท่านเปรียบดั่งกษันติฤาษี จิตว่างเป็นธรรมชาติที่ปราศจากความปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง ดังนั้นท่านจึงกล่าวในทำนองว่า ถ้ากันจิตไม่ให้ท่องเที่ยวไปภายนอกได้ ก็เป็นกษันติฤาษีองค์หนึ่งขึ้นมาแล้ว.

      ##ประโยคที่ ๓ ""ไม่มีกาย ไม่มีจิต นี้คือ ทางของพุทธะทั้งหลาย""

      สิ่งที่เรียกว่า กาย- จิต ถ้าแจกรายละเอียด ก็คือ ขันธ์ห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ปุถุชนมองเห็นว่า ขันธ์ห้าเป็นอัตตาตัวตน แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ขันธ์ห้าเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนอยู่จริง; ท่านฮวงโปจึงกล่าวว่า ไม่มีกาย ไม่มีจิต สภาวะที่ว่างจากกาย ว่างจากจิต นั่นแหละคือ หนทางที่แท้จริง ท่านใช้คำว่า ทางของพุทธะ, จิตว่าง คือพุทธะ เห็นจิตว่าง คือ เห็นพุทธะ. (๔ ก. ค.๖๔) 

No comments yet...

Leave your comment

53755

Character Limit 400