#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

“หัวใจของพุทธศาสนา”

โดย: Soranat Amsri
ชอบ: (0)
ไม่ชอบ: (0)
Created: 18 Mar 2019

“หัวใจของพุทธศาสนา”

นิพพานัง ปรมัง วทันติ พุทธา : "นิพพานเป็นธรรมอันสูงสุด"

หัวใจของธรรมะระดับสูงสุด คือ “นิพพาน” 

พุทธศาสนา แบ่งออกเป็น หลายนิกาย เช่น นิกายมหายาน นิกายเถรวาท

แต่ว่าโดยหัวใจของหลักธรรม ก็เป็นสิ่งเดียวกัน

คือ “การพ้นทุกข์”อันถือเป็นสัจธรรมสากล ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ 

ขออธิบายถึง ความหมายของพระพุทธเจ้า โดยแบ่งออกเป็น

 1.  เป็นบุคคล คือ พระศาสดาที่เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์

 2.  เป็นธรรมะ หรือ เป็นธรรมะภาวะ คือ ความสะอาด ความสว่าง ความสงบ

จิตใจที่ปราศจากความทุกข์ทั้งปวง

มีคำกล่าวว่า “ผู้ใดเห็นธรรม        ผู้นั้นเห็นเรา”

                       ผู้ใดเห็นเรา          ผู้นั้นเห็นธรรม” 

นี่คือ การเห็น”พระนิพพาน” นั่นเอง

หลักคำสอน นิกายเถรวาท “นิพพานัง ปรมัง สุขัง” 

พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง คือ การมีจิตที่ว่างอย่างยิ่ง โดยความว่างนี้ 

คือความว่างจากกิเลส จากความทุกข์ ว่างจากความดีใจ เสียใจ ความเครียด ความอิจฉา

 ว่างจากอัตตาตัวตนแต่บริบูรณ์ด้วยสติปัญญา 

 “ จิตวุ่น ทำงานด้วยความเครียด จิตว่าง ทำงานด้วยสติปัญญา”

หลักคำสอน นิกายมหายาน เช่นความหมายของคำว่า “ อมิตะภพุทธะ อมิตะยุสพุทธะ” 

“อมิตะภพุทธะ” แปลว่าพระพุทธเจ้าที่มีแสงสว่างอันหาประมาณมิได้ โดยเราสามารถ

ฝึกจิตใจเพื่อหาความสว่าง ความว่างนั้นได้

“อมิตยุสพุทธะ”. แปลว่า พระพุทธเจ้าที่มีอายุ อันหาประมาณมิได้ คือ อยู่เหนืออายุ

พุทธะภาวะที่เป็นอมตะ ไม่ตายเป็นนิรันดร ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ระลึกได้ด้วยตนเอง

หากคนนั้นไมมีกิเลสครอบงำจิตใจ

หรือหลักคำสอนในนิกายเซ็นแสดงให้เห็นว่า “ธรรมะที่แท้จริงนั้นลึกซึ้งรู้ได้เฉพาะตน เป็นปัจจัตตัง” ความจริงสูงสุดไม่สามารถแสดงออกได้ด้วยคำพูด

ดังสุภาษิตว่า “ผู้รู้ ไม่พูด ผู้พูด ไม่รู้”

หรือในลัทธิเต๋า โดยมีท่าน “เล่าจื๊อ” เป็นศาสดา โดยเน้นการดำรงอยู่แบบเรียบง่าย

กลมกลืนกับธรรมชาติ มุ่งเน้นความอยู่แบบกลมกลืนคล้อยตามธรรมชาติ ในหลักคำสอน

อาทิเช่น  “ปราชญ์ ย่อมกระทำด้วยการไม่กระทำ”คือ การทำด้วยสติปัญญา 

“เทศนาด้วยการไม่เอยวาจา” คือ การประกอบกิจอันยิ่งใหญ่ด้วยการสงบนิ่งไม่ประกาศให้โลกรู้  

“เกียรติคุณจึงดำรงอยู่ไม่สูญสลาย” 

ทั้งหมดคือ แนวคำสอนแบบปรัชญาของลัทธิเต๋า

ที่กล่าวมาข้างต้น จึงกล่าวได้ว่า สัจจธรรมนั้นเป็นสากลอาจเรียกชื่อไม่เหมือนกัน

 แต่มีหัวใจเหมือนกันหมดคือ “ความว่าง” หรือ “นิพพาน” นั่นเอง

เรียบเรียงธรรมเทศนา โดย ลลิต มณีธรรม

No comments yet...

Leave your comment

47152

Character Limit 400