#สัจจะไร้สิ่งคู่.
#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.
เรื่อง “อตฺตนา โจทยตฺตานํ”. “จงเตือนตนด้วยตนเอง”.
เรื่อง “อตฺตนา โจทยตฺตานํ”. “จงเตือนตนด้วยตนเอง”.
โดยปกติมนุษย์เรานั้น ต้องได้รับการเรียนรู้จากครูบาอาจารย์ แต่หากบุคคลนั้นไม่ได้เชื่อฟัง หรือน้อมรับมาปฏิบัติ ก็ไม่เกิดประโยชน์แก่ตน ดังนั้น จึงควรมีการเตือนตนเองเพื่อพานพบความสงบด้วยตนเอง
ในที่นี้ ขออธิบาย คำว่า “ตน “มี ๒ ความหมาย คือ
๑.”ตนโดยสมมติ” มีพุทธสุภาษิตว่า “อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ.” แปลว่า ตนเป็นที่พึงแห่งตน คือ รู้ตนเอง เห็นตนเอง เช่นผู้ปฏิบัติธรรมจะเห็นตนเอง และจะรู้ตัวทั่วพร้อม คือ อยู่กับปัจจุบัน เพื่อวางอดีต หยุดนึกคิดอนาคตนั่นเอง ทำให้จิตใจเศร้าหมอง หรือ ภาษาที่เราเรียกว่า “จิตตก” จึงควรปฏิบัติธรรมขั้นพื้นฐานนี้ให้เป็นนิจ
๒. คำว่า “รู้ตัว ในภาษาปรมัติ” แบ่งออกเป็น ๒ ระดับ คือ
๒.๑ รู้ตัวเอง เห็นตัวเอง คือ เห็นว่ามีตัวเองในระดับโลกียะ (ระดับปุถุชน) คือ เห็นว่ามีอัตตาตามภาษาธรรม, สำหรับภาษาสมมติ คือ เห็นว่ามีตนเองโดยสมมติ เพื่อทำหน้าที่ให้เหมาะสมของตนของตน หรือที่เรียกว่า รู้จักเหตุ รู้จักผลรู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาลเวลา รู้จักชุมชน รู้จักบุคคล
ระดับสมถะ ซึ่งยังเห็นอัตตาอยู่ ทั้งหมดให้ดู เห็น พิจารณาตนเอง รวมเรียกว่า ขันธ์ห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ แบ่ง เป็น (รูป คือ ร่างกาย กับ นามคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) พระพุทธเจ้าตรัสว่า ขันธ์ห้า เป็นอนัตตา คือ ไม่มีตัว แต่ปุถุชนมองเห็นว่าเป็นทุกข์
แต่การดูตัวเองในภาษาปรมัติ คือ มีจิตใจ สงบในระดับหนึ่ง ไม่เห็นแจ้งพระนิพพาน ไม่เห็นแจ้งสุญญตา ก็เพราะมีอวิชชาปิดบังไว้อีกชั้นหนึ่ง มีธุลีหรือขี้ฝุ่น (ภาษาธรรมคือ อวิชชา). “ตา”ในภาษาธรรม คือ ปัญญา ซึ่งหมายถึงขี้ฝุ่นปิดบังตาปัญญาไม่สามารถเห็นถูกต้องชัดเจนได้ ทำให้เห็นขันธ์ห้าเป็นตัวตน เป็นอัตตา แต่แท้จริงโดยธรรมชาติแล้วขันธ์ห้าเป็นอนัตตา อาทิเช่น การฝึกสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งฝึกฐานกาย ยังเห็นว่ามีตัว ยังเห็นเวทนาเป็นตัว จึงเป็นเหตุให้ติดฐานจิตอยู่ เป็นต้น
๒.๒. เห็นตัวเองในภาษาปรมัติในระดับโลกุตตระ คือ เห็นว่าไม่มีตัวเอง ไม่มีขันธ์ ๕ หรือไร้ตัวตนนั่นเอง จึงนำพาบุคคลนั้นไปสู่การเห็นแจ้งพระนิพพาน สุญญตา เห็นความว่าง ความสงบสุขมาสู่ตนในที่สุด
เรียบเรียงธรรมเทศนา โดย ลลิต มณีธรรม.