#สัจจะไร้สิ่งคู่.
#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.
เรื่อง มาดูอาการ “พองลม” กันสักนิด ว่าคืออะไร?
เรื่อง มาดูอาการ “พองลม” กันสักนิด ว่าคืออะไร?
หมวดธรรมที่เรียกว่า มงคล ๓๘ นั้น มีอยู่ท่อนหนึ่งได้กล่าวถึงเป็นบาลีว่า “นิวาโต” แปลว่า ความอ่อนน้อมถ่อมตน(วาตะ แปลว่า ลม หมายถึงกิริยา อาการที่พองลม) เช่น อึ่งอ่างพบศัตรูจะพองตัวให้ศัตรูเกรงกลัว หรือ สุนัขที่แยกเขี้ยวไก่จะแผ่ขยายปีกเป็นต้น และสำหรับ คำว่า “นิ แปลว่า ไม่.” ดังนั้น คำว่าไม่พองลมมีลักษณะอย่างไร?
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจอาการพองลมว่าเกิดมาจากอะไร? ซึ่งเราท่านต้องประสบพบมาทุกคน อาทิเช่นคนที่ปรารถนาการได้รับการยอมรับจากผู้อื่น หรือคนขี้อวดคนขี้คุยนั้น มักจะเกิดจากอาการพองลม ที่แสดงออกมาโดยการดูถูกเหยียดหยามผู้อื่นให้ดูด้อยกว่าตน เพื่อยกตนให้สูงขึ้นหรือสร้างความยิ่งใหญ่ให้ตนเอง ข้อสังเกตของการเกิดอาการพองลมนั้น จะต้องมีผู้อื่นมาเปรียบเทียบ อาทิเช่น ต้องการให้ผู้อื่นยอมรับความเก่งของตนเอง
การแสดงออกของการพองลมในสมัยโบราณ เป็นการพองลมของหัวหน้ากลุ่มแต่ละกลุ่ม หรือแต่ละชาติพันธุ์ อันเป็นเหตุให้เกิดสงครามมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน, ยุคต่อมา คือ การแข่งกันสร้างสรรค์ศิลปะความรู้ต่างๆ เป็นต้น, โดยรวมก็คือการข่ม การสะกดผู้อื่นเพื่อทำให้ตนเป็นผู้ชนะ แม้กระทั่งการเจอคนที่ด้อยกว่า เราก็จะเริ่มต้องการ กดข่มให้เค้ารู้ว่า เค้านั้นด้อยกว่าเรา นี้ก็เป็นลักษณะของการพองลมเช่นกัน
ปัจจัยอะไร คือ สาเหตุให้คนเกิดอาการพองลม?
๑. ชาติตระกูล ผู้ที่เกิดในตระกูลที่มีขื่อเสียงสะสมมาตั้งแต่ บรรพบุรุษ
๒. ทรัพย์สมบัติ เงินทองที่ดิน คือ ปัจจัยให้ผู้คนเกิดอาการพองลมได้ง่าย
๓. รูปร่างหน้าตา คนใดมีหน้าตาดี หล่อ สวย จะมีอาการพองลมอีกแบบหนึ่ง
๔. ความรู้ ความสามารถ ซึ่งพบทั่วไปในสมัยนี้ ด้วยมีอาการพองลมว่าตนคือคนเก่ง ซึ่งพบบ่อยในคนที่ศึกษาธรรมมะ ที่ผ่านการเรียนรู้มาจากหลากหลายครูบาอาจารย์ ซึ่งยิ่งทำให้มีอัตตาสูงขึ้น เพราะมั่นใจว่าตนได้ยินได้ฟังมามากรู้มาก, ทำไมคนศึกษาธรรมมะมีอาการเช่นนี้ อาทิเช่น มีโยมถามว่า จะบรรลุนิพพานต้องทำเช่นไร เช่น ต้องละกิเลสไม่มีตัวตน ไม่แสวงหานิพพาน แม้พระพุทธองค์เวลาตรัสสอนจะใช้วิธีการต่างกันไป ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับบุคคลที่เรากำลังสื่อสารด้วย เข่น นิพพานไม่ใช้ธาตุสี่ ไม่ใช้รูปธาตุ ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกอื่น ไม่ใช่ระหว่างแห่งโลก ไม่ใช่การเกิดขึ้น ไม่มีการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป
ในกรณีนี้ จึงเห็นว่า บุคคลที่มีอาการพองลมนั้น คนเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นผู้ป่วยทางใจ อันเกิดจากเชื้อกิเลส ซึ่งเป็นกิเลสที่ละเอียด ต้องอาศัยการมีสติระลึกรู้ตลอดเวลาเพื่อขจัดความรู้สึกที่เป็นอัตตา ตัวตน เมื่อท่านใดมีอาการเช่นนี้ พึงใช้ปัญญาพิจารณา ว่า อะไรเป็นสิ่งที่เราต้อง “ละ” กันแน่ และจะสามารถขจัดกิเลสออกไปจากใจได้ในที่สุด ขอท่านจงอย่าปล่อยให้กิเลสรวมร่างกันได้ เพราะ “วาตะ” ของเราจะยิ่งใหญ่มากขึ้นเท่านั้น
เรียบเรียงธรรมบรรยาย โดย ลลิต มณีธรรม