#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

เรื่อง โลกเสมือน เป็นอย่างไรกันแน่?

โดย: Lita De Pran
ชอบ: (0)
ไม่ชอบ: (0)
Created: 26 Dec 2019

เรื่อง โลกเสมือน เป็นอย่างไรกันแน่?

ในปัจจุบันนี้ คือ โลกยุคดิจิตอล ซึ่งมีผู้คนเสพติดโลกเสมือนอย่างมากมาย อาทิเช่น ในมุมของวัยรุ่น ได้ใช้โลกอินเตอร์เน็ต เฟสบุค ซึ่งต้องมีการแจ้งตัวตนในโลกโซเชี่ยล เช่น เราต้องกรอกข้อมูลลงไป เพื่อพบปะเพื่อนในโลกโซเชี่ยล ทำให้เกิดมีชื่อเราในโซเชี่ยลนี้ขึ้นมา จนเกิดการเสพติดจากการติดตามอ่าน, จากการกดไลค์, จากการคอมเม้นท์ จนทำให้เกิดอาการจิตตกเมื่ออ่านพบข้อความไม่พึงพอใจ หรือเกิดใจพองโตเมื่อพบอ่านเจอ หรือ ดูสิ่งที่ถูกใจเป็นต้น

คนส่วนใหญ่คิดว่าโลกเสมือนคือ โลกของสังคมโซเชี่ยล แต่ท่านอาจลองพิจารณานึกถึงคำว่าโลกเสมือนในอีกมุมหนึ่งว่า คือ ความคิดที่อยู่ในหัวของเรา หรือ อาจมองว่าสิ่งที่เราเรียกว่าชีวิตจริง นั้นก็คือโลกเสมือน อีกใบหนึ่งเช่นกันซึ่งไม่ได้แตกต่างจากโลกโซเชี่ยลอย่างใดเลย

โลกเสมือนชีวิตจริงกับ โลกเสมือนโซเชี่ยลแตกต่างกันอย่างไร?”

ประการแรกโลกเสมือนชีวิตจริงเมื่อชีวิตหนึ่งเกิดขึ้นมาเราต้องแจ้งการเกิด เพื่อขอรับสูจิบัตร และ เมื่อสิ้นชีวิตเราต้องแจ้งเพื่อขอรับใบมรณะบัตร หากเปรียบเทียบโลกโซเชี่ยลก็เหมือนกัน เพราะเมื่อถึงวันหนึ่งบัญชีผู้ใช้ก็ต้องถูกลบในที่สุด ดังนั้นจุดเริ่มต้น หรือจุดสิ้นสุดของโลกโซเชี่ยล และโลกชีวิตจริงนั้นมีเหมือนกัน

ประการที่สอง ในระหว่างทาง ของโลกเสมือนชีวิตจริง กับ โลกเสมือนโซเชี่ยล เราพบเจอคล้ายๆ กัน ด้วยโลกธรรม   คือ สิ่งที่มากระตุ้นให้เรารู้สึกเป็นบวก และรู้สึกเป็นลบ ฉะนั้น สิ่งที่เราเรียกว่า ชีวิตจริง ก็คือโลกเสมือน อีกใบหนึ่งซึ่งไม่แตกต่าง เพราะชีวิตจริงผู้คนเข้ามาพบเรา เราจะเกิดทั้งบวกและลบ ซึ่งในโลกโซเชี่ยล (ดิจิตอล) ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเรามองบางอย่างอาจเห็นว่า สวยงาม เช่น รูปภาพเพื่อน ภาพวิวทิวทัศน์. ซึ่งในเบื้องต้นภาพเหล่านี้ ประกอบด้วยโค้ดหรือรหัสทางคอมพิวเตอร์ ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นตัวสร้างและกำหนดอยู่ตลอดเวลา.

ในโลกเสมือนชีวิตจริงนั้นก็เป็นแบบนั้นเช่นกัน คือมีรหัสธรรมชาติวิ่งไปวิ่งมา มีทั้งการเปิด, การปิด และการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเปรียบได้กับคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ใช้เรียกรหัสธรรมชาติเหล่านี้ เช่น คำว่าขันธ์ ที่เป็นองค์ประกอบของกายกับจิต นั้นก็คือโค้ดหรือรหัสเช่นกัน ฉะนั้นจึงถือว่าถูกใช้เรียกตามสมมติ หรือใช้โค้ดด้วยเช่นกัน.

ประการที่สาม ดำรงอยู่ในโลกเสมือนด้วยความไม่ประมาทเหมือนกัน ด้วยเพราะโลกเสมือนโซเชี่ยลใบนี้ เป็นโลกเสมือนที่ต่างพบปะพบเจอ และดับไป ดังเช่นโลกโซเชี่ยลในเชิงความคิด ว่าใครคุมเกม ใครกำหนด เพราะโลกโซเชี่ยลต้องมีผู้คุม มีผู้ตรวจสอบ ซึ่งเป็นหลักเดียวกันกับชีวิตจริง ซึ่งชีวิตจริงก็มีองค์กรหน่วยงาน รัฐบาล หรือ องค์กรระดับโลก เฝ้าระวังควบคุม เสริมสร้างเพื่อพัฒนาขับเคลื่อนต่อไป

แต่คนผู้ดูแลระบบในโลกเสมือนที่เราเรียกว่าชีวิตจริงนี้ ไม่ได้มีอำนาจเด็ดขาด เพราะจริงๆ แล้วมีเบื้องหลังการควบคุมอยู่ ซึ่งคือ โค้ดหรือระหัส ที่วิ่งอยู่ เราเรียกว่ากฎธรรมชาติ ซึ่งไม่มีใครสามารถเอาชนะได้ ดังคำสอนในหลักอิทัปปัจจยตา คือ หลักที่ว่าด้วยเรื่องเหตุ-ปัจจัย, เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น, เมื่อสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป, เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้ย่อมมี, เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี ดังนั้น กฎอิทัปปัจยตา นี่แหละ คือ ผู้คุมเกมอย่างแท้จริง เมื่อเหตุปัจจัยเป็นแบบหนึ่ง,ผลก็ต้องเป็นแบบหนึ่ง เมื่อเหตุปัจจัยเปลี่ยนไป - ผลก็ต้องเปลี่ยนไป.

ฉะนั้นหากเราทำความเข้าใจกับกฎอิทัปปัจจยตาให้ดีแล้ว เราจะสามารถอยู่ร่วมกับผู้คุมเกมนี้ได้โดยจะไม่รู้สึกหวั่นไหวต่อเหตุการณ์ที่เราจะได้อะไร หรือ ขณะที่จะต้องเสียประโยชน์อะไรไป เช่น วันนี้เราคิดว่าจะได้ค่าตอบแทนเท่าไรหรือ ร่างกายเราจะเสื่อมไปอีกแค่ไหน สิ่งเหล่านี้ เราต้องทำความเข้าใจว่าผู้ดูแลระบบ เค้าทำงานอย่างไร  แล้วเราจะดำเนินชีวิตได้อย่างสงบ โดยไม่เป็นทุกข์กับการอยู่ในโลกเสมือนนี้

ขอกล่าวถึง คำว่าสักว่า ธาตุอะไรๆ ก็เป็น สักว่าธาตุ ในทางพุทธศาสนานั้น ลึกซึ้งกว่าทางวิทยาศาสตร์มาก ยกตัวอย่าง คำว่าน้ำในทางวิทยาศาสตร์เรียกน้ำว่า เป็นธาตุออกซิเจน เป็นต้น แต่จริงๆ แล้วนี่เป็นของหยาบในทางพุทธศาสนา ที่รวมเรียกว่ารูปธาตุคือ สิ่งที่เป็นรูป ทำไมพระองค์ต้องเอาเรื่องธาตุมาสอน? ด้วยเหตุเพราะ พระองค์ต้องการสอนว่า ตัวเราจริงๆ มีอยู่หรือไม่? ชื่อเสียง ยศศักดิ์ นั่นคือของจริงหรือเป็นเพียงสิ่งสมมติ?

ดังนั้นที่เราเรียกว่าธาตุ ก็เพื่อทำความเข้าใจในโลกเสมือน อีกใบหนึ่ง ซึ่งมีความไม่แน่นอนอยู่ตลอดเวลา

พุทธองค์ตรัส เรื่อง ธาตุ อีกแบบว่านิพพานธาตุเกินกว่า รูป และ อรูป เพราะว่า ไม่ใช่ทั้งรูป และอรูป

แต่สิ่งที่อธิบายในวันนี้ เพื่อทำความเข้าใจว่า ชีวิตไม่ใช่ของจริง เป็นเพียงโลกเสมือนอีกใบ หากท่านลองสังเกตจะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่มีที่สิ้นสุด เราจึงไม่ควรจริงจัง และ ไม่ควรพึงตำหนิเด็ก ลูกหลานของเราที่เสพติดโลกเสมือนในดิจิตอล ในโซเชี่ยลแล้วเราก็กลับมาติดในโลกเสมือนที่เรียกว่าชีวิตจริง ไม่ต่างกันเลย, เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว จึงควรมองตนเองว่า เราท่านต่างติดในโลกเสมือนอีกใบหนึ่งซึ่งเด็กๆ กับเราก็ไม่แตกต่างกันเลย

ดังนั้น พุทธศาสนาจึงพยายามบอกทุกท่านว่า การเห็นลงไปอย่างชัดเจนถึงความเป็นโลกเสมือน ที่เบื้องหลังนั้นเต็มไปด้วยโค้ด หรือรหัสอัดเต็มไปหมดนั้น เป็นเพียงมายาดังพระบาลีบทหนึ่งว่า

เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ จิตฺตํ ราชรถูปมํ ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ”.

สูทั้งหลายจงมาดู โลกอันตระการดุจราชรถ ที่พวกคนเขลามัวเมาหมกอยู่ แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่”.

พระบาลีบทนี้ สอนเราได้ชัดเจนว่า สิ่งที่เราเรียกว่า ชีวิตจริงมันก็แค่โลกเสมือนอีกใบหนึ่งเท่านั้นเอง ดังนั้น เมื่อท่านรู้เช่นนี้แล้ว เราชาวพุทธควรน้อมนำคำสอนมาประพฤติปฏิบัติด้วยความไม่ประมาทเถิด.

เรียบเรียงธรรมเทศนา โดย ลลิต มณีธรรม.

No comments yet...

Leave your comment

41044

Character Limit 400