#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา สพฺพทุกฺขา อปจฺจคา

โดย: Soranat Amsri
ชอบ: (0)
ไม่ชอบ: (3)
Created: 28 Dec 2019

เรียบเรียงธรรมเทศนาทำวัตรเช้าวันพระ วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๒

แสดงธรรมบรรยายโดยพระอธิการคัมภีรญาณ อภิปุญโญ

เรื่อง. “สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา สพฺพทุกฺขา อปจฺจคา”.
(บุคคลจะพ้นจากปวงทุกข์ได้ด้วยการสมาทานสัมมาทิฏฐิ)

บุคคลจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้เพราะ สมาทานสัมมาทิฏฐิ ซึ่งทำให้คนหมดทุกข์ ไม่มีทุกข์ ปราศจากทุกข์ และอยู่เหนือความทุกข์ ด้วยการมีความเห็น และความเข้าใจที่ถูกต้อง

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร? เราชาวพุทธทราบกันอย่างดีว่า พระองค์ทรงตรัสรู้ “อริยสัจ” และ “พระนิพพาน” ด้วยเพราะอริยสัจและพระนิพพานคือสิ่งเดียว ซึ่งนับเป็นหัวใจของพุทธศาสนา มีบาลีบทหนึ่งว่า “นิพพานัง ปรมัง วทันติ พุทธา” “พระนิพพานเป็นบรมธรรม คือ ธรรมะอันสูงสุด”.

คำว่า “อริยสัจ”แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ มาจาก (อริ แปลว่า ข้าศึกศัตรู) (ยะ แปลว่า ไป ) (สัจจะ แปลว่า ความจริง) รวมความหมายคือ ความจริงที่ไปแล้วจากข้าศึก สิ่งที่เป็นข้าศึกต่อจิตใจมนุษย์ คือ กิเลสนั่นเอง และ ภาวะที่ว่างจากข้าศึกก็คือ พระนิพพานนั่นเอง ฉะนั้น “อริยสัจและพระนิพพาน” คือสิ่งเดียวกัน แต่อริยสัจ มีองค์ประกอบ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และการจะเข้าถึงพระนิพพานได้ต้องมี ปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ๑๒ อันเป็นระบบของธรรมชาติ ดังเช่น ภาพปฏิจสมุททบาท เป็นภาพที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ไปที่มุมวงล้อ ๘ คือ อริยมรรคมีองค์๘ และอีกมุมที่เป็นวงล้อ ๑๒ คือ อริยสัจ ปริวัฏฏ์๓ มีอาการ ๑๒ นั่นเอง

คำว่า ปริ แปลว่า รอบ, วัฏฏะ คือ การวน รวมความหมายคือ วนรอบนั่นเอง ฉะนั้น คำว่า ปริวัฏฏ์๓ มีอาการ ๑๒ แจงออกมาจากสิ่งต่อไปนี้ คือ

-ทุกข์ แบ่งออกเป็น ๓ ที่เรียกว่า ปริวัฏฏ์ ๓ , อย่างที่หนึ่งเรียกว่า ความทุกข์เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ให้ศึกษาที่ความทุกข์ คือ ปริยัติ หรือ บาลีใช้คำว่า สัจจญาณ, ความทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ คือ กิจจญาณ หรือ ปฏิบัติ และความทุกข์เรากำหนดรู้ได้เองแล้วคือ กตญาณ (คือ เอาชนะกิเลสได้) คือ ปฏิเวธนั่นเอง

-สมุทัย เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ เรียกว่า ปริยัติ,เหตุให้เกิดทุกข์เป็นสิ่งที่ควรละเสีย ซึ่งก็คือการละกิเลส เรียกว่าปฏิบัติ, และได้มรรคผลเป็นปฏิเวธนั่นเอง

-นิโรธ ความไม่เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ เรียกว่า ปริยัติ ,นิโรธคือ ความไม่เกิดทุกข์เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง คือ การประพฤติปฏิบัติ, และผลของการไม่เกิดทุกข์ เรียกว่าปฏิเวธ

-มรรค คือ อริยะมรรค แบ่งออกเป็น ๓ ลำดับที่หนึ่ง คือ มรรค เพื่อ ไม่ให้เกิดความทุกข์เป็นอย่างนี้ อย่างนี้, ให้ศึกษาที่กาย วาจา ใจ เรียกว่า ปริยัติ หรือ สัจจญาณ, มรรคเป็นสิ่งที่ควรประพฤติควรทำให้มาก คือ การปฏิบัติ หรือ กิจจญาณ, และ มรรค เป็นสิ่งได้ประพฤติปฏิบัติแล้วได้ผลแล้ว คือ ปฏิเวธหรือกตญาณ ทั้งหมด คือ หัวข้อย่อยของปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒.

เมื่อเห็นดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว จักเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง ซึ่งหมายถึงการเห็นแจ้งอริยสัจ การเห็นแจ้งพระนิพพาน จักทำให้ท่านหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง.

เรียบเรียบธรรมเทศนา โดย ลลิต มณีธรรม.

No comments yet...

Leave your comment

68188

Character Limit 400