#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

นิพพานัง ปรมัง สุขัง

โดย: Soranat Amsri
ชอบ: (0)
ไม่ชอบ: (10)
Created: 28 Dec 2019

เรียบเรียงธรรมเทศนาทำวัตรเช้าวันพระ วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๒
แสดงธรรมบรรยายโดยพระอธิการคัมภีรญาณ อภิปุญโญ เจ้าอาวาส

เรื่อง. “นิพพานัง ปรมัง สุขัง”. “พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง”.

ในคำอาราธนาธรรมจะมีคำว่า ความสุขเกษมศรี ซึ่งคือพระนิพพานอันเป็นความสุขอันเกษม เป็นความสุขอันสูงสุด

โดยความสุขนั้นแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ดังนี้

๑. ความสุขระดับทั่วไป หรือ เรียกว่า “กามสุข” (ความสุขอย่างหยาบ) คือ ความสุขที่เราหลงเพลินใน รูป เสียง กลิ่น รส อันทุกท่านพึงปรารถนาพึงพอใจ ซึ่งเป็นความสุขที่ปรุงแต่ง แต่ยังทำให้ติดใจมัวหมองได้ หรือคือ ความสุขที่ไม่เที่ยง (ในภาพปฏิจจสมุปบาท อุปมาไว้นั้น จะเห็นพระพุทธเจ้ามาโปรดในชั้นสวรรค์ มีการตีดสายพิณ ซึ่งเสียงพิณนี้ แสดงถึงความไม่เที่ยงนั้นเอง) จึงต้องใช้สติปัญญาที่มองเห็นความไม่เที่ยง ว่าความสนุกสนานนั้นไม่ยั่งยืนถาวร และ จะจากไปในที่สุด

๒. ฌานสุข คือ ความสุขที่จิตใจเป็นสมาธิ จิตใจสงบ เป็นฌานไม่มีความดีใจเสียใจ ใจไม่ฟูแฟบ จิตใจนิ่งซึ่ง ในเรื่องนี้ มีมาก่อนพระพุทธศาสนาอีก แต่ ฌานสุขก็ยังเป็นอนิจจัง อาจเปรียบเสมือนนั่งอยู่บนหลังเสือที่นอนหลับ เพราะหากเกิดการเคลื่อนไหวตัว เสืออาจกัดตายได้ ฉะนั้น จิตใจระดับฌานนี้ถูกข่มเอาไปชั่วคราวนั่นเอง

๓. นิพพานสุข คือ ความสุขที่จิตใจเป็นอิสระภาพเสรีภาพ เป็นความสุขสงบเย็น สมดังพระบาลีข้างต้นว่า “นิพพานัง ปรมัง สุขัง” อันเป็นความเกษมศรี ที่เราท่านทั้งหลายพึงหมายประพฤติตนเพื่อพบนิพพานสุขนี้ จึงต้องใช้สติปัญญาอันแท้จริง ในการ “ละ” “วาง” ในความคิดทั้งฝ่ายพอใจ และ ไม่พอใจ ไม่มีซ้าย ไม่มีขวา ไม่มีกลาง เป็นความว่างในพุทธะธรรม (พระนิพพานคือสิ่งเดียวกัน)
ดังพุทธสุภาษิตว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม” หรือ “ผู้ใดเห็นพระพุทธเจ้าผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า”

เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว เราท่านทั้งหลายจงประพฤติตนให้พบความสุขที่แท้จริง คือ “สุขที่ไร้สุข” แล้วเราจะพบความสุขที่เป็นอิสระภาพเสรีภาพ ซึ่งคือ “ไม่ทุกข์ “ เพราะหากเราเสียใจเศร้าใจเราก็ทุกข์ ดีใจพอใจเราก็ทุกข์ ดังนั้น หากไม่มีทั้งเสียใจ ไม่มีทั้งพอใจ จึงเรียกว่าไม่ทุกข์ ซึ่งภาวะนี้ คือ “นิพพาน นั่นเอง”.

เรียบเรียงธรรมบรรยาย โดย ลลิต มณีธรรม.

3 Comments

นาย ธนกร ภคพรบุณยาพร(โก๋)
กราบ ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ พุทธบูชา ธัมมบูชา สังฆบูชา นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ สาธุ
พานทอง อินทรชัย
กราบ..บ…บ ขออนุโมทนา สา..า…า ธุ สาธุๆๆ
ปิติ ยิ้มเมือง
สรุปหลักธรรมแท้ในความจริงแท้สี่ประการ(อริยสัจสี่)ต้นเหตุแห่งทุกข์สัจจะ เกิด,แก่,เจ็บและตายเป็นของธรรมดาของโลกที่มนุษย์จะต้องเผชิญความจริงเช่นนี้ ทางที่จะพ้นทุกข์ได้ที่พระพุทธเจ้าค้นพบหลักธรรมและมีเมตตาบอกสอนและถ่ายทอดให้กับสาธุชนที่เลื่อมใสและต้องการพ้นจากทุกข์ในอริยสัจโดยให้แนวทางการประพฤติปฏิบัติทางสายกลางอริยมรรคจนเกิดปัญญาถึงพร้อมและสามารถละวางได้ไม่มีอะไรมากระทบจิตให้เกิดการปรุงแต่งได้ สาธุ

Leave your comment

81823

Character Limit 400