#สัจจะไร้สิ่งคู่.
#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.
เรื่อง เทศกาลปีใหม่นี้ เราชาวพุทธมารู้จักพระรัตนตรัยให้ถ่องแท้เถิด
เรื่อง เทศกาลปีใหม่นี้ เราชาวพุทธมารู้จักพระรัตนตรัยให้ถ่องแท้เถิด
พระรัตนตรัย หมายความว่า “ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน” (คำว่า รัตน แปลว่า แก้ว หรือ สิ่งที่มีค่าสูงสุด, สำหรับคำว่า ตรัยแปลว่า ๓) พระรัตนตรัย แก้วอันประกอบด้วย องค์ ๓ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันไม่สามารถแยกจากกันได้เปรียบดังเช่น น้ำในแก้ว เกิดจากธาตุออกซิเจนกับไนโตรเจน คือ เหตุ-ปัจจัย อันอาศัยการเกิดขึ้นและดับไป เฉกเช่นความสมบูรณ์ของพระรัตนตรัยต้องอาศัยสามสิ่งนี้ ได้แก่
“พระพุทธ” ท่านพุทธทาส กล่าวว่าพระพุทธเจ้า มี ๓ ความหมายได้แก่
๑.พระพุทธรรูป เป็นสัญลักษณ์ หรือ องค์แทนของพระพุทธเจ้า หรือ องค์พระศาสดา
๒.พระพุทธเจ้าที่เป็นองค์พระศาสดา (หรือพระองค์คน)
๓.พุทธภาวะ คือความสะอาด ความสว่าง สงบ คือ พระพุทธเจ้าในความหมายของพระรัตนตรัย
พระธรรม มี ๓ ความหมาย ดังนี้
๑.คัมภีร์ใบลาน หรือ พระไตรปิฎก อันเป็นสิ่งที่เราต้องให้ความเคารพ
๒.คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คือ พระธรรมอันที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระองค์ (อาทิเช่นในขณะแสดงธรรมนี้)
๓.ธรรมภาวะ คือ ความสะอาด ความสว่าง ความสงบ
ที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่า พระพุทธ และ พระธรรม คือ สิ่งเดียวกัน ดังเช่น พุทธสุภาษิตกล่าวไว้ว่า
“ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา, ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม”
พระสงฆ์ มี ๓ ความหมาย คือ
๑.พระภิกษุสงฆ์ เป็นบุคคลที่พึงให้ความเคารพ
๒.บุคคลในประวัติศาสตร์ เช่น พระสารีบุตร ปัญจวัคคีย์ทั้งห้า เป็นต้น
๓.สังฆภาวะ คือ ภาวะ ของความสะอาด ความสว่าง ความสงบ ซึ่งคือ ภาวะที่อยู่ที่ใจของทุกท่านนั่นเอง
—พระสงฆ์ในความหมายของพระรัตนตรัย แบ่งออกเป็น ๔ ระดับคือ
๑. โสดาบัน
๒. อนาคามี
๓. สกิทาคามี
๔. พระอรหันต์
พระรัตนตรัย คือ ความสะอาด สว่าง สงบ หรือ จิตว่างที่สะอาด สว่าง สงบถึงที่สุด ดังพุทธสุภาษิตว่า “ผู้ใดเห็นจิตว่างแสดงว่าผู้นั้นเห็นพระรัตนตรัย ผู้ใดอยู่กับจิตว่าง ผู้นั้นอยู่กับพระรัตนตรัย ผู้ใดเข้าถึงจิตว่าง ผู้นั้นเข้าถึงพระรัตนตรัย ผู้ใดพึ่งจิตว่าง ผู้นั้นพึ่งพระรัตนตรัย”
ฉะนั้น เราชาวพุทธควรมารู้จักพระรัตนตรัยให้ถ่องแท้กันเถิด ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๖๓ นี้ เราควรนึกถึงพลานุภาพอันคงความศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพระรัตนตรัย โดยมิต้องข้องเกี่ยวกับไสยศาสตร์หรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องบูชาใดๆ ทั้งสิ้นขอกล่าวถึงคำเปรียบเปรยแต่โบราณว่า
“ไหว้พระพุทธระวังจะสะดุดแค่ทองคำ” เราจึงควรกราบสักการะบูชา แต่ควรพึงทำเป็นพุทธานุสติ
“ไหว้พระธรรมระวังจะขยำคัมภีร์ใบลาน” เราจึงควรนึกถึงพระธรรมคุณ
“ไหว้พระสงฆ์ระวังจะติดอยู่แค่ลูกชาวบ้าน” เราจึงควรน้อมจิตรำลึกถึงพระสงฆ์โดยคุณ
เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว เราควรดำเนินชีวิต ด้วยสติปัญญา เราท่านพึงสังเกตตนเองว่า เราได้ประพฤติตนดังเช่น ชาวพุทธที่ถูกต้องหรือไม่, อาตมาขอให้ท่านพึงถือสัมมาทิฏฐิเป็นที่ตั้ง
เรียบเรียบธรรมบรรยายโดย ลลิต มณีธรรม.