#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

เรื่อง อิทัปปัจจยตา (ตอนที่ ๑ ภาค ๒ ในมุมมองแบบง่ายๆ)

โดย: Lita De Pran
ชอบ: (0)
ไม่ชอบ: (0)
Created: 11 Jan 2020

เรื่อง อิทัปปัจจยตา (ตอนที่ ภาค ในมุมมองแบบง่ายๆ)

วินิจฺฉยํ ปฏิจฺจ ฉนฺทราโค,  ฉนฺทราคํ ปฏิจฺจ อชฺโฌสานํ, อชฺโฌสานํ ปฏิจฺจ ปริคฺคโห, ปริคฺคหํ ปฏิจฺจ มจฺฉริยํ, มจฺฉริยํปฏิจฺจ อารกฺโข, อารกฺขํ ปฏิจฺจ อารกฺขาธิกรณํ ทณฺฑาทานสตฺถาทานกลหวิคฺคหวิวาทตุวํเปสุญฺญมุสาวาทา อเนเก ปาปกา อกุสลา ธมฺมา สมฺภวนฺตีติ”.

เพราะอาศัยการปลงใจรัก จึงเกิดฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยความเพลิน), เพราะอาศัยฉันทราคะ จึงเกิดความสยบมัวเมา, เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงเกิดความจับอกจับใจ, เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงเกิดความตระหนี่, เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงเกิดความหวงกั้น เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงเกิดเรื่องขึ้น เกิดการใช้อาวุธไม่มีคม และมีคม เกิดการโกลาหลวุ่นวาย เกิดการยื้อแย่ง เกิดการวิวาท เกิดการกล่าวว่า มึงๆ เกิดถ้อยคำส่อเสียด เกิดถ้อยคำมุสาวาท อันมีมูลมาจากการหวงกั้นนั้นๆ, บาปอกุศลธรรมทั้งหลายเป็นอเนกย่อมเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้”.

แล้ว พระบาลี บทนี้ มาเกี่ยวข้องกับเราท่านทั้งหลายอย่างไรกัน?

ทั้งหมดคือ ขบวนการแปรเปลี่ยนของจิต - เมื่อมีสิ่งมากระทบจิต ทำให้เกิดเป็นขบวนการแปรเปลี่ยนของจิตตามลำดับในข้างต้น อาทิเช่น

ความแสวงหาเป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้เราปลงใจรัก

เพราะอาศัยการปลงใจรัก จึงเกิดฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยความเพลิน),

เพราะอาศัยฉันทราคะ จึงเกิดความสยบมัวเมา,

เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงเกิดความจับอกจับใจ, ตรงนี้ คือ จุดเปลี่ยนหากเราสังเกตบาลีนี้ (ซึ่งเสมือนพูดทางฝ่ายบวกเท่านั้น)

แต่ด้วยกฎธรรมชาติความเป็นจริงที่เกิดขึ้นจะมีอาการฝ่ายลบตามมาเสมอ ด้วยเพราะการไม่ได้สิ่งนั้นมาครอบครองเช่น จะเกิดอาการที่เรียกว่า มัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ และเพราะอาศัยความตระหนี่ จึงเกิดความหวงกั้นเช่น เวลาเด็กทานอาหาร ในเด็กบางคน เลือกกินไส้กรอกก่อน หรือ เก็บไว้กินที่หลัง ทั้งหมด คือการตระหนี่ จึงหวงกั้นไว้

เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงเกิดเรื่องขึ้นด้วยจิตไม่สามารถเก็บไว้ได้อีก จึงเกิดการแสดงออกทางกาย จึงต้องต่อสู้เพื่อเก็บรักษาการหวงกั้นนั้นไว้ หรือ เกิดการยื้อแย่งนั่นเอง อาทิเช่น การยื้อแย่งของรัก แย่งคนรัก เป็นต้น จึงเกิดการวิวาท การทะเลาะกันท่านพุทธทาส แปลความหมายว่า เกิดการวิวาท เกิดการกล่าวว่า มึงๆ. “คือ การเกิดอัตตา ตัวฉัน อย่างเต็มรูปแบบ จึงตามมาด้วยถ้อยคำส่อเสียด เกิดถ้อยคำมุสาวาท ทั้งหมดนี้ พระบาลีกล่าวว่าอันมีมูลมาจากการหวงกั้นนั้นๆ - บาปอกุศลธรรมทั้งหลายเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้.”

ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนในชีวิตประจำวัน มีเหตุการณ์วิวาทบนท้องถนน ซึ่งอาการเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นนี้เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาททั้งสิ้น หรือ เหตุการณ์ขณะนี้ ที่ทั่วโลกเป็นกังวล ว่ามีประเทศมหาอำนาจที่ ยิงอาวุธรุกรานฝ่ายอริศัตรู อันอาจให้เกิดสงครามโลกก็เป็นได้ เมื่อปฏิจจสมุปบาทได้เกิดขึ้นกับผู้นำทั้งสองเช่นนี้ อาจนำพาเหตุการณ์ร้ายแรงและความเสียหาย อาจก่อให้เกิดความทุกข์แก่เราท่านในอนาคตข้างหน้านี้

ฉะนั้น เราชาวพุทธทั้งหลายพึงพิจารณาโดยใช้ความไม่ประมาทในการเผชิญเหตุการณ์ไม่สงบเหล่านี้ โดยเราจะต้องมีสติในการเข้าใจปฏิจจสมุปบาท” - เข้าใจถึงสิ่งที่มากระทบต่อจิตเรา ว่าก่อให้เกิดเวทนา เป็นเหตุให้เกิดตัณหา(ความอยาก),ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดการแสวงหา, เมื่อเกิดหาแสวงหา ก็จะเกิดการได้, เมื่อเกิดการได้ ก็จะเกิดการปลงใจรัก แล้วเกิดความกำหนัดด้วยความเพลิน คือ ฉันทราคะ, และเกิดสยบมัวเมา, แล้วเกิดอาการจับอกจับใจ, แล้วพบจุดเปลี่ยนเป็นการตระหนี่ การหวงกั้น จึงเกิดการทะเลาะวิวาทด้วยอาวุธหรือการใช้คำพูดส่อเสียดเบียดเบียน จึงเกิดโกลาหลวุ่นวาย และสุดท้ายจึงเกิดอกุศลธรรม และบาปเกิดขึ้นในที่สุด ดังนั้นเมื่อท่านเห็นเช่นนี้แล้ว จึงพึงใช้ความระมัดระวังป้องกันด้วยการมีสติเมื่อมีการกระทบ - ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และขอให้ท่านทั้งหลายระมัดระวังในการดำเนินชีวิตให้ปราศจากการปรุงแต่งเวทนาจนทำให้เกิดปัญหาแก่ชีวิต และสังคมเถิด.

เรียบเรียงธรรมบรรยาย โดย ลลิต มณีธรรม.

No comments yet...

Leave your comment

18408

Character Limit 400