#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

จงทำจิตให้ว่าง

      ###จงทำจิตให้ว่าง#!!!!!

      ##คำสอนท่านฮวงโป, ตอนที่ ๒๑๑, หน้า ๗๔; ขอแบ่งออกเป็น ๓ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""ท่านอาจารย์ผู้ก่อกำเนิดนิกายเซนของเรา, ไม่ได้สอนอะไรให้แก่สาวกของท่านเลย, นอกจากการทำให้ว่างไปโดยสิ้นเชิง, ซึ่งนำไปสู่การเพิกถอนเสียซึ่งความรู้สึกต่าง ๆ ทางอายตนะ"" ที่ว่า ผู้ก่อกำเนิดนิกายเซน หมายถึง ท่านโพธิธรรม ผู้นำนิกายเซนจากอินเดียเข้าเมืองจีน.

      คำว่า ความรู้สึกทางอายตนะ หมายถึง ความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว หรือดีใจ เสียใจ เป็นต้น; ท่านฮวงโปกล่าวว่า ท่านโพธิธรรมมิได้สอนอะไรอื่น นอกจากการทำจิตให้ว่าง (สุญญตา) ซึ่งนำไปสู่การเพิกถอนความรู้สึกต่าง ๆ เช่น รู้สึกดีใจ เสียใจ เป็นต้น อันเกิดจากการสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.

      ##ประโยคที่ ๒ ""ในการทำให้ว่างไปโดยสิ้นเชิงนี่เอง, ทางของพวกพุทธะทั้งหลาย ได้เป็นไปอย่างรุ่งเรือง"" คำว่า ความว่าง (จิตว่าง) นั่นแหละคือ พุทธะ, ผู้ที่เผชิญหน้าประจักษ์แจ้งอยู่กับสภาวะของความว่าง ผู้นั้นชื่อว่า เป็นพุทธะ;

      ท่านจึงกล่าวว่า การทำให้ว่างไปโดยสิ้นเชิง, ทางของพวกพุทธะก็ได้เป็นไปอย่างรุ่งเรือง; การเห็นแจ้งอยู่กับความว่าง โดยที่ไม่ปล่อยให้ความคิดปรุงแต่งเกิดขึ้นมา เรียกว่า ดำเนินอยู่ในทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) เพื่อก้าวหน้าสู่ความสิ้นกิเลสเป็นอรหันต์.

      ##ประโยคที่ ๓ ""และในขณะเดียวกันนั้นเอง, จากการเที่ยวแยกออกไปว่า นั่นเป็นนั่น, นี่เป็นนี่ อย่างตรงกันข้ามเป็นคู่ ๆ, นั่นแหละฝูงปีศาจร้ายก็รุ่งเรืองโชติช่วงขึ้นมา"" ท่านชี้ให้เห็นว่า การมีความคิดในลักษณะแบ่งแยกเป็นคู่ ๆ ที่เรียกว่า คติทวินิยม,

      ฝูงปีศาจร้ายก็รุ่งเรืองโชติช่วง หมายความว่า ถ้าเข้าไปยึดติดอยู่กับสิ่งที่เป็นคู่ ๆ เช่น ชั่ว- ดี, บาป- บุญ, มืด- สว่าง, กลางคืน- กลางวัน, ยากจน- ร่ำรวย, ขาดทุน- กำไร, ไม่รู้- รู้, โง่- ฉลาด เป็นต้น; สิ่งที่เรียกว่า ปัญหา ความทุกข์ ความชั่ว ความเดือดร้อนต่าง ๆ ก็กลุ้มรุมเข้ามา. (๑๙ ธ. ค.๖๑)

No comments yet...

Leave your comment

88879

Character Limit 400