#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##เห็นอริยสัจ คือเห็นว่าไม่มีอริยสัจ

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๗, ว่าด้วยคำสอนอันเหมาะแก่อุปนิสัยฯ, หน้า ๑๐๑; จะนำมาเขียนสัก ๓ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""ภิกษุฮังฉิ อาจารย์องค์หนึ่งในนิกายธยานะนี้ เกิดที่อันเซ็งแห่งกัตเจา ในตระกูลหลิว, เมื่อได้ยินข่าวเล่าลือว่า คำสอนของพระสังฆปริณายกได้ทำให้คนจำนวนมากมีความสว่างไสวในธรรม, ท่านจึงได้ตรงมายังตำบลโซกายทันที

      เมื่อทำความเคารพและได้ตั้งคำถามขึ้นว่า "ผู้ปฏิบัติควรส่งจิตของตนพุ่งไปยังสิ่งใด อันจะทำให้การบรรลุธรรมของเขาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดได้ด้วย "เครื่องวัดคุณวิเศษ" ตามที่คนทั่วไปเขารู้กัน?"" 

      ภิกษุฮังฉิเป็นผู้ที่เห็นแจ้งจิตเดิมแท้แล้ว แต่ก็มีความประสงค์จะมาพบท่านเว่ยหล่าง เพราะได้ยินข่าวเล่าลือว่า มีความสามารถในการแสดงธรรมให้ผู้คนจำนวนมากเข้าถึงความเห็นแจ้งสว่างไสวต่อจิตเดิมแท้ได้; ทีนี้มาดูประโยคถัดไป.

      ##ประโยคที่ ๒ ""พระสังฆปริณายกถามว่า ก็ท่านกำลังปฏิบัติอยู่อย่างไรเล่า?; ภิกษุฮังฉิตอบว่า แม้ธรรม คือ อริยสัจทั้งหลาย ที่พระพุทธเจ้าทุก ๆ องค์สอนไว้ ข้าพเจ้าก็ไม่มีความจำเป็นอะไร ที่จะต้องเข้าไปแตะต้องด้วย;

      พระสังฆปริณายกถามต่อไปว่า แล้วก็เดี๋ยวนี้ท่านอยู่ใน "ชั้นแห่งคุณวิเศษ" ชั้นไหนเล่า?; ภิกษุฮังฉิย้อนว่า จะมี "ชั้นแห่งคุณวิเศษ" อะไรที่ไหนเล่า ในเมื่อข้าพเจ้าปฏิเสธไม่เข้าเกี่ยวข้องด้วย แม้กับอริยสัจที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สอนไว้ ?""

      จากคำตอบของภิกษุฮังฉิ ถ้าฟังดูอย่างผิวเผิน ก็เหมือนกับท่านกล่าวตู่พระพุทธเจ้า ไม่แสดงความเคารพต่อองค์พระศาสดา แต่ที่จริง นั่นแหละคือ การรู้อริยสัจอย่างถูกต้อง, ที่ว่า รู้อริยสัจ ก็คือ รู้ว่า ไม่มีอริยสัจนั่นเอง.

      ##ประโยคที่ ๓ ""การตอบได้อย่างทันควันของภิกษุฮังฉิ ได้ทำให้พระสังฆปริณายกเกิดความนับถือ ถึงกับยกเธอขึ้นเป็นหัวหน้าคณะ; วันหนึ่ง พระสังฆปริณายกได้กล่าวแก่ท่านผู้นี้ว่า ท่านควรจะไปประกาศธรรมในท้องถิ่นของท่านเอง 

      เพื่อว่า คำสอนจะไม่ลับหายสิ้นสุดไป, เพราะเหตุนั้น ภิกษุฮังฉิได้กลับไปภูเขาชิงอัน อันเป็นภูมิลำเนาของท่าน; พระธรรม (แห่งนิกายนี้) ถูกมอบหมายทอดช่วงไปยังท่าน, ท่านได้เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง

      และเป็นการทำให้คำสอนแห่งครูอาจารย์ของท่านลงรากอย่างมั่นคงเพราะเหตุนั้น; เมื่อท่านมรณภาพแล้ว เขาพากันยกสมัญญาให้แก่ท่านว่า ฮุงไซ่ ผู้เป็นอาจารย์แห่งนิกายธยานะ"" เห็นความว่าง (สุญญตา) คือ เห็นอริยสัจ, เห็นอริยสัจ คือเห็นว่า ไม่มีอริยสัจ. (๑๖ ม. ค.๖๒)

No comments yet...

Leave your comment

91140

Character Limit 400