#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##เห็นแจ้งสิ่งเดียวกัน#!!!

      ##คำสอนท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๗, ว่าด้วยคำสอนอันเหมาะแก่อุปนิสัยฯ, หน้า ๑๐๒; จะนำมาเขียนสัก ๔ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""ภิกษุเว่ยยาง อาจารย์ในนิกายธยานะอีกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลเต๋าในกิมเจา, เมื่อไปเยี่ยมท่านเว่ยออนแห่งภูเขาซุงซาน ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำเมือง ได้ถูกท่านผู้นี้บังคับให้มายังตำบลโซกาย เพื่อสนทนากับพระสังฆปริณายก""

      ท่านเว่ยหล่าง แม้ว่าอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่เป็น แต่มีตำแหน่งในระดับสูงสุด ก็คือ พระสังฆปริณายกองค์ที่หกของนิกายเซน เพราะว่าท่านได้รับธรรมะมาจากพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้าโดยตรง.

      ##ประโยคที่ ๒ ""ครั้นมาถึงและได้ทำความเคารพตามธรรมเนียมแล้ว, ก็ถูกพระสังฆปริณายกถามว่า มาจากไหน, ตอบว่า มาจากซุงซาน; ถามว่า สิ่งที่มานั้นเป็นอย่างไร ? มาได้อย่างไร ?, ตอบว่า จะว่ามันเหมือนกับอะไร ก็เป็นการผิดทั้งนั้น"" 

      คำถาม- คำตอบแรก เป็นคำถาม- ตอบ อย่างธรรมดา, ส่วนคำถาม- คำตอบครั้งที่สอง เป็นภาษาธรรม, ท่านเว่ยหล่างถามว่า สิ่งที่มานั้นเป็นอย่างไร? มาได้อย่างไร?, ภิกษุเว่ยยางตอบว่า จะว่ามันเหมือนกับอะไรก็ผิดทั้งนั้น หมายถึง จิตเดิมแท้นั่นเอง; ท่านเว่ยหล่างถามต่อไปว่า...

      ##ประโยคที่ ๓ ""ถามว่า เป็นสิ่งที่ลุถึงได้ด้วยการฝึกฝนปฏิบัติตนหรือ?, ตอบว่า มิใช่, เป็นการสุดวิสัยที่จะลุถึงได้ด้วยการฝึกฝนปฏิบัติตน, แต่ว่า เป็นการสุดวิสัยจริง ๆ ที่จะทำสิ่งนี้ให้เศร้าหมองมีมลทิน""

      ท่านเว่ยหล่างถามในลักษณะเป็นการทดสอบว่า จะมีความเข้าใจจริงหรือไม่, ท่านจึงถามว่า เป็นสิ่งที่ลุถึงได้ด้วยการฝึกฝนปฏิบัติตนหรือ?, จากคำตอบของภิกษุเว่ยยาง ทำให้ท่านเว่ยหล่างเห็นว่า ภิกษุเว่ยยางเข้าใจแจ่มแจ้งต่อสัจธรรมจริง ๆ.

      ##ประโยคที่ ๔ ""เมื่อได้ฟังดังนั้น พระสังฆปริณายกได้เปล่งเสียงขึ้นดัง ๆ ว่า มันได้แก่สิ่งที่ไม่รู้จักเศร้าหมองนี้จริง ๆ ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เอาพระทัยใส่, ถึงท่านก็ต้องเป็นอย่างเดียวกัน ถึงแม้ข้าพเจ้าก็ต้องเป็นอย่างเดียวกัน""

      ท่านเว่ยหล่างได้ชี้ให้เห็นชัดว่า สัจธรรมมีหนึ่งเดียวเท่านั้น ก็คือ จิตเดิมแท้ ซึ่งเป็นอมตะนิรันดร, ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้าก็เห็นแจ้งสิ่งนี้, ภิกษุเว่ยยางก็เห็นแจ้งสิ่งนี้, แม้ท่านเองก็เห็นแจ้งสิ่งนี้เหมือนกัน. (๒๓ ม. ค.๖๒)

No comments yet...

Leave your comment

81569

Character Limit 400