#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

#สมาธิที่แท้ ไม่ต้องเข้าต้องออก.

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๗, ว่าด้วยคำสอนอันเหมาะแก่อุปนิสัยฯ, หน้า ๑๐๖- ๑๐๗; จะนำมาเขียนสัก ๕ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""ภิกษุจิหว่างรู้สึกงง, หลังจากที่นิ่งอึ้งไปขณะหนึ่ง แล้วท่านจึงได้ถามขึ้นว่า "ข้าพเจ้าขอทราบว่า ใครเป็นอาจารย์ของท่าน?"; ภิกษุอันแช็กตอบว่า "อาจารย์ของข้าพเจ้าคือ พระสังฆปริณายกองค์ที่หกแห่งโซกาย""

      ข้อความดังกล่าวเป็นการสนทนากันระหว่างภิกษุจิหว่างกับภิกษุอันแช็ก; ภิกษุจิหว่างเป็นศิษย์พระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า แต่ยังไม่เห็นแจ้ง, ส่วนภิกษุอันแช็กเป็นศิษย์พระสังฆปริณายกองค์ที่หก และเป็นผู้เห็นแจ้งแล้ว ดังนั้นเมื่อภิกษุจิหว่างได้ฟังคำกล่าวของภิกษุอันแช็ก จึงรู้สึกงง ไม่เข้าใจความหมาย.

      ##ประโยคที่ ๒ ""ภิกษุจิหว่างถามต่อว่า "อาจารย์ของท่านได้กล่าวสรุปความเรื่องธยานะและสมาธิไว้อย่างไรเล่า?; ภิกษุอันแช็กกล่าวตอบว่า "คำสอนของอาจารย์มีว่า ธรรมกายเป็นสิ่งที่เต็มเปี่ยมและสงบ, ตัวแท้และการทำหน้าที่ของธรรมกาย ย่อมอยู่ในภาวะแห่งความคงที่เสมอ""

      สิ่งที่เรียกว่า ธรรมกายกับจิตเดิมแท้ ก็คือ ภาวะอันเดียวกัน, ธรรมชาติของจิตเดิมแท้หรือธรรมกายเป็นสภาวะที่เต็มเปี่ยมและอิสระ, ท่านชี้ให้เห็นว่า "การทำหน้าที่ของธรรมกาย ย่อมอยู่ในภาวะแห่งความคงที่ (สมาธิ) เสมอ".

      ##ประโยคที่ ๓ ""ขันธ์ทั้งห้าเป็นของว่างโดยแท้จริง และอายตนะภายนอกทั้งหก เป็นของไม่มีอยู่; ในสมาธิไม่มีทั้งการเข้าและไม่มีทั้งการออก, ไม่มีทั้งความเงียบและไม่มีทั้งความวุ่นวาย""

      ในภาษาปรมัตถ์สภาวะที่เรียกว่า ขันธ์ห้าเป็นของว่าง คือ ไม่มีอยู่จริง, รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นอนัตตา คือ ไม่มีตัวตน, อายตนะภายนอกก็ไร้อัตตา; สมาธิของจิตเดิมแท้ไม่มีทั้งการเข้าและการออก, ไม่มีทั้งความเงียบและความวุ่นวาย, ว่างจากความคิดที่เป็นคู่ ๆ.

      ##ประโยคที่ ๔ ""ธรรมชาติของธยานะไม่ใช่เป็นความเข้าอยู่, ดังนั้นเราควรจะขึ้นไปให้เหนือภาวะแห่งการเข้าอยู่ในความสงบแห่งธยานะ, ธรรมชาติของธยานะนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ใครจะสร้างขึ้นได้, ดังนั้นเราควรจะขึ้นไปให้เหนือความคิดแห่งการสร้างภาวะของธยานะ""

      คำว่า ธยานะ หมายถึง จิตเดิมแท้; ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า การเข้า- การออกเป็นลักษณะของคู่ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ธรรมชาติของธยานะ ไม่ใช่เป็นความเข้าอยู่ และไม่ใช่เป็นสิ่งที่ใครจะสร้างขึ้นได้, สิ่งที่สร้างขึ้นได้เป็นเพียงมายาของความคิดปรุงแต่ง.

      ##ประโยคที่ ๕ ""ภาวะของจิตนั้นอาจเปรียบได้กับอวกาศ แต่มันเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัด ดังนั้นจิตจึงมีอยู่โดยปราศจากการจำกัดเขตของอวกาศ"" 

      ธรรมชาติของจิตว่าง (สุญญตา) หรือจิตเดิมแท้ เป็นสภาวะแห่งความว่างชนิดที่ไม่มีขอบเขตจำกัด จะเรียกว่า อนันตะก็ได้ คือไม่มีที่สิ้นสุด ว่างชนิดที่ไม่มีที่สิ้นสุดจริง ๆ; ไม่มีลบ ไม่มีบวก และไม่มีกลางที่อยู่ระหว่างลบกับบวกด้วย นั่นแหละคือ ทางสายกลาง (middle way) ที่แท้จริง หรือที่เรียกว่า มัชฌิมา. (๒๕ มี. ค.๖๒)

No comments yet...

Leave your comment

87629

Character Limit 400