#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

#สมาธิจริง คือจิตเดิมแท้#!!!

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๘, หน้า ๑๑๔- ๑๑๕; จะนำมาเขียนสัก ๔ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""พระสังฆปริณายกถามว่า "อาจารย์ของท่านสอนลูกศิษย์ว่าอย่างไรบ้าง ?" ชีชิงตอบว่า "ท่านอาจารย์สอนให้พวกข้าพเจ้าทำสมาธิในความบริสุทธิ์, ให้นั่งขัดสมาธิอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้นอน""

      ข้อความในประโยคนี้ เป็นการสนทนากันระหว่างท่านเว่ยหล่างกับชีชิงผู้เป็นศิษย์ท่านชินเชา ซึ่งยังไม่เห็นแจ้งจิตเดิมแท้, ท่านชินเชาสอนวิธีปฏิบัติด้วยการให้ทำสมาธิในความบริสุทธิ์ ก็คือ การเพ่งดูจิตที่ผ่องใสบริสุทธิ์เหมือนกระจกเงาที่ใส และเน้นการนั่งขัดสมาธิหลับตา ซึ่งเป็นสมาธิที่ไม่ถูกต้อง.

      ##ประโยคที่ ๒ ""พระสังฆปริณายกกล่าวว่า การทำสมาธิในความบริสุทธิ์นั้น ไม่แน่วแน่และไม่ใช่สมาธิ, การกักตัวเองให้นั่งขัดสมาธิอยู่ตลอดเวลานั้น ตามหลักแห่งเหตุและผลแล้ว ไม่เกิดผลดีอะไรขึ้นมา""

      ท่านเว่ยหล่างชี้ให้เห็นว่า การทำสมาธิในความบริสุทธิ์ตามที่ท่านชินเชาสอนนั้น ยังไม่ใช่สมาธิที่แท้จริง, นั่งขัดสมาธิหลับตาเพ่งจ้องจิตที่ผ่องใสเหมือนกระจกเงาที่ใส, ที่จริงเป็นเพียงมายาของความคิดที่ตนเองสร้างขึ้นมา, ท่านจึงกล่าวว่า "ตามหลักแห่งเหตุและผลแล้ว ไม่เกิดผลดีอะไรขึ้นมา".

      ##ประโยคที่ ๓ ""จงฟังโศลกของฉัน"คนเป็นย่อมจะนั่ง และไม่นอนอยู่ตลอดเวลา, ส่วนคนตายนั้นนอน และไม่นั่ง, สำหรับร่างกายอันเป็นเนื้อหนังของเรานี้ ทำไมเราจะต้องคอยนั่งขัดสมาธิ""

      ท่านกล่าวว่า คนเป็นย่อมจะนั่งและไม่นอนอยู่ตลอดเวลา หมายความว่า ต้องเคลื่อนไหว ต้องเดิน ต้องทำหน้าที่การงาน; โดยธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตต้องเดิน ยืน นั่ง นอน, ดังที่ได้กล่าวแล้ว; ท่านตั้งเป็นคำถามว่า "สำหรับร่างกายอันเป็นเนื้อหนังของเรานี้ ทำไมเราจะต้องคอยนั่งขัดสมาธิ".

      ##ประโยคที่ ๔ ""เมื่อได้ทำความเคารพพระสังฆปริณายกอีกเป็นครั้งที่สอง ชีชิงจึงกล่าวว่า "แม้ว่าข้าพเจ้าจะได้ศึกษาพระพุทธศาสนาจากท่านอาจารย์ชินเชามาเป็นเวลา ๙ ปีแล้ว ข้าพเจ้าก็ยังไม่เคยบรรลุธรรมเลย

      แต่พอได้ฟังคำพูดของท่านเท่านั้น ดวงจิตของข้าพเจ้าก็สว่างไสว, และเนื่องจากปัญหาแห่งการเวียนเกิดโดยไม่จบสิ้น เป็นปัญหาเฉพาะหน้า ฉะนั้น ขอท่านได้โปรดเมตตาข้าพเจ้า โดยสั่งสอนข้าพเจ้าต่อไปด้วย"" จิตเดิมแท้ คือจิตบริสุทธิ์สูงสุด ชนิดที่อยู่เหนือการอุปมา. (๓๑ พ. ค.๖๒)

No comments yet...

Leave your comment

91026

Character Limit 400