#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##ภาวะที่แท้แห่งจิต#!!!

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๘, หน้า ๑๑๖; จะนำมาเขียนสัก ๓ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""ในการอธิบายธรรม ฉันไม่เคยเหออกไปจากภาวะที่แท้แห่งจิต (Essence  of  Mind) ฉันพูดในสิ่งที่ฉันตระหนักรู้ได้ด้วยปัญญาญาณ"" 

      ยกตัวอย่าง การอธิบายความเพียรสี่ แต่เกี่ยวข้องอยู่กับจิตเดิมแท้, ๑) เพียรระวัง คือ ระวังไม่ให้ความคิดปรุงแต่งเกิดขึ้น ด้วยการเห็นแจ้งอยู่กับจิตเดิมแท้, ๒) เพียรละ คือ เมื่อผัสสะทางอายตนะแล้ว ก็ไม่ยึดถือต่อสิ่งที่มากระทบ, ๓) เพียรสร้างสรรค์ คือ ระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง ในเมื่อผัสสะก็ไม่ยึดถืออยู่เป็นประจำ, และ ๔) เพียรรักษา คือ เห็นแจ้งอยู่กับจิตเดิมแท้ชนิดที่ไม่พลั้งเผลอตลอดไป.

      ##ประโยคที่ ๒ ""หากพูดเป็นอย่างอื่นไปแล้ว ก็แสดงว่า ภาวะที่แท้แห่งจิตของผู้อธิบายยังมืดมัว และแสดงว่า เขาสามารถแตะต้องได้เพียงเปลือกนอกของธรรมเท่านั้น""

      ยกตัวอย่าง การอธิบายความเพียรสี่เหมือนกัน แต่วนอยู่ข้างนอก, ๑) เพียรระวัง คือ ระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้นที่กาย วาจา ใจของเรา, ๒) เพียรละ คือ ละความชั่วที่เกิดขึ้นแล้วให้ออกไป, ๓) เพียรสร้างสรรค์ คือ การสร้างความดีให้เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ, และ ๔) เพียรรักษา คือ รักษาความดีที่กาย วาจา ใจเอาไว้; ถ้าอย่างนี้ แสดงว่า ผู้อธิบายยังไม่เห็นแจ้งจิตเดิมแท้, ท่านจึงกล่าวว่า "เขาสามารถแตะต้องได้เพียงเปลือกนอกของธรรม".

      ##ประโยคที่ ๓ ""คำสอนที่แท้สำหรับศีล สมาธิ และปรัชญานั้น ควรจะยึดหลักที่ว่า อาการของสิ่งทั้งหลายได้แรงกระตุ้นมาจากภาวะที่แท้แห่งจิต""

      ท่านเว่ยหล่างชี้ให้เห็นว่า เรื่องศีล สมาธิ ปรัชญา เป็นการแสดงออกของจิตเดิมแท้; ศีล คือ ความปรกติของกาย วาจา ซึ่งถูกกำกับอยู่ด้วยจิตเดิมแท้, สมาธิ คือ ความตั้งมั่นไม่ปรุงแต่งของจิตเดิมแท้, และปรัชญา (ปัญญา) คือ ความรู้ของจิตเดิมแท้เอง; ท่านจึงกล่าวในทำนองว่า ศีล สมาธิ ปรัชญา เป็นแรงกระตุ้นมาจากจิตเดิมแท้. (๑๓ ก. ค.๖๒)

No comments yet...

Leave your comment

56032

Character Limit 400