#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##ไตรสิกขาที่แท้#!!!

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๘, หน้า ๑๑๖; จะนำมาเขียนสัก ๔ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""จงฟังโศลกของฉันดังนี้: การทำจิตให้เป็นอิสระจากมลทินทั้งปวง คือ ศีลของภาวะที่แท้แห่งจิต"" 

      คำว่า ศีล แปลว่า ปรกติ, โดยทั่วไปจะอธิบายว่า หมายถึง ความปรกติของกายกับวาจา แม้ว่าจิตใจยังมีความปรุงแต่งฟุ้งซ่าน; แต่ท่านเว่ยหล่างให้ความหมายว่า การทำจิตให้เป็นอิสระจากมลทินทั้งปวง คือ ศีลของจิตเดิมแท้.

      ##ประโยคที่ ๒ ""การทำจิตให้เป็นอิสระจากความกระวนกระวายทั้งหลาย คือ สมาธิของภาวะที่แท้แห่งจิต""

      คำว่า สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่น; จิตที่เป็นสมาธิจริง ๆ หมายถึง จิตเดิมแท้ เพราะว่าเป็นอสังขตะ คือปราศจากความปรุงแต่งด้วยประการทั้งปวง, ถ้ายังปรุงแต่ง (สังขตะ) แสดงว่า ยังไม่ใช่สมาธิที่แท้จริง.

      ##ประโยคที่ ๓ ""สิ่งที่ไม่เพิ่มขึ้นหรือไม่ลดลง นั้นแหละคือ วัชร (วัชร หมายถึง ภาวะที่แท้แห่งจิต)""

      คำว่า วัชร หมายถึง ปรัชญาหรือปัญญา แต่เป็นปรัชญาในระดับจิตเดิมแท้; สิ่งที่เรียกว่า ปรัชญากับจิตเดิมแท้ คือ ภาวะอันเดียวกัน หมายถึง เป็นเนื้อเดียวกัน; ถ้ามีการเพิ่มการลด เป็นลักษณะของสิ่งปรุงแต่ง (สังขตธรรม).

      ##ประโยคที่ ๔ """การมาและการไป เป็นสมาธิในขั้นต่าง ๆ"" เมื่อได้ฟังเช่นนี้ ชีชิงจึงกล่าวขออภัยที่ได้ถามปัญหาโง่ ๆ ออกไป และกล่าวขอบคุณในคำสอนของพระสังฆปริณายก""

      ข้อความที่ว่า "การมาและการไป เป็นสมาธิในขั้นต่าง ๆ" ท่านต้องการจะชี้ให้เห็นถึงการทำงานของจิตเดิมแท้ ที่เรียกว่า กัมมนีโย ก็คือ ควรแก่การงาน. (๓ ส. ค.๖๒)

No comments yet...

Leave your comment

97534

Character Limit 400