#สัจจะไร้สิ่งคู่.
#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.
##ไม่ยึดติดคำบัญญัติ#!!!
##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๘, หน้า ๑๑๗; จะนำมาเขียนสัก ๓ ประโยค ดังนี้ :-
##ประโยคที่ ๑ ""ใครที่ตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่งจิต (จิตเดิมแท้) ก็อาจเลิกใช้ลัทธิเหล่านี้ได้ เช่น โพธิ นิพพาน และวิชชาแห่งความหลุดพ้น"" หมายความว่า ผู้ที่ประจักษ์แจ้งต่อสภาวะของจิตเดิมแท้ หรือความว่าง (สุญญตา) ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ คำว่า โพธิ นิพพาน และวิชชา
เพราะว่า คำเหล่านี้เป็นเพียงคำที่บัญญัติขึ้นมาเท่านั้น, พวกที่ยึดติดในคำศัพท์ต่าง ๆ ท่านใช้คำว่า "ลัทธิ"; ผู้ที่เข้าไปยึดติดอยู่กับคำเหล่านี้ ก็จะไม่เห็นแจ้งต่อจิตเดิมแท้ เพราะถูกความคิดปรุงแต่งอันเนื่องมาจากความยึดติดในคำศัพท์นั่นเอง.
##ประโยคที่ ๒ ""ผู้ที่ไม่ได้รับมอบหลักธรรมหรือไม่มีหลักธรรมสักอย่างเดียวเท่านั้น ที่สามารถวางหลักเกณฑ์ในธรรมทั้งปวงได้"" สภาวะที่ว่างจากหลักธรรม หมายถึง จิตเดิมแท้ หรือความว่างนั่นเอง
คำว่า หลักธรรม หมายถึง ความรู้ที่เป็นทฤษฎีหรือปริยัติ เป็นความรู้จำ รู้คิด รู้จินตนาการเอาด้วยเหตุผล หลักธรรมในลักษณะอย่างนี้ เป็นสิ่งปิดบังสัจธรรมแท้ กล่าวคือ จิตเดิมแท้หรือความว่าง ดังนั้นท่านจึงกล่าวในทำนองว่า ผู้ที่ไม่ได้รับมอบหลักธรรมหรือไม่มีหลักธรรมเท่านั้น จึงจะวางหลักเกณฑ์ในธรรมได้.
##ประโยคที่ ๓ ""และผู้ที่เข้าใจความหมายของคำที่ขัดกันเองเหล่านี้เท่านั้น จึงอาจใช้คำเหล่านี้ได้"" ที่ว่า "คำที่ขัดกันเอง" หมายถึง คำศัพท์ที่เป็นความรู้ในลักษณะของปริยัติ เช่นคำว่า โพธิ นิพพาน วิชชา ญาณ พุทธะ เป็นต้น;
ดังนั้น คำที่ขัดกันเอง ก็คือ ความรู้ที่อยู่ในรูปของความคิดปรุงแต่ง; ผู้ที่เห็นแจ้งต่อจิตเดิมแท้เท่านั้น จึงจะเห็นความขัดกันเองของคำต่าง ๆ เหล่านั้น, ท่านจึงกล่าวในลักษณะว่า "ผู้ที่เข้าใจความหมายของคำที่ขัดแย้งกันเองเหล่านี้เท่านั้น จึงอาจใช้คำเหล่านี้ได้โดยที่ไม่สับสน. (๒๙ ส. ค.๖๒)