#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##ไร้ความแตกต่าง#!!!

      ##คำสอนท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๘, หน้า ๑๑๗; จะขอนำมาเขียนสัก ๓ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""ผู้ที่ได้ตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่งจิตแล้ว ย่อมไม่มีอะไรที่เห็นว่าแตกต่างกัน ไม่ว่าเขาจะวางหลักเกณฑ์ในธรรมทั้งปวงหรือไม่ก็ตาม""

      คำว่า วางหลักเกณฑ์ในธรรม เช่น พระพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้แล้ว ก็ได้วางหลักเกณฑ์อริยสัจสี่ขึ้น คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นต้น แต่พระพุทธองค์ก็ไม่ได้มองเห็นความแตกต่างระหว่างการวางหลักเกณฑ์กับการไม่ได้วางหลักเกณฑ์, คำว่า แตกต่าง ก็คือ ลักษณะของคติทวินิยมนั่นเอง; จิตเดิมแท้ ไม่ติดอยู่กับสิ่งคู่ทุกชนิด.

      ##ประโยคที่ ๒ ""เขาย่อมเป็นอิสระที่จะมาหรือไป และเป็นอิสระจากอุปสรรคหรือเครื่องข้องทั้งมวล""

      คำว่า มาหรือไป หมายถึง การทำหน้าที่ของจิตเดิมแท้ ทำหน้าที่ด้วยสติปัญญา ไม่เจือปนด้วยกิเลสด้วยประการทั้งปวง เรียกว่า เป็นอิสระที่จะมาหรือไป; ที่ว่า เป็นอิสระจากอุปสรรคหรือเครื่องข้องทั้งมวล หมายความว่า เมื่ออุปสรรคต่าง ๆ เกิดขึ้น ก็ไม่กระทบถึงใจ แก้ปัญหาหรืออุปสรรคเหล่านั้นไปด้วยสติปัญญา และไม่ยึดติดในเครื่องข้องทั้งมวล คือ รูป เสียง ฯลฯ.

      ##ประโยคที่ ๓ ""เขาจะปฏิบัติการตามความเหมาะสมกับเหตุการณ์ที่ควรเป็น, เขาจะตอบคำถามตามอัธยาศัยของผู้ถาม เพียงแต่ชำเลืองดูเท่านั้น""

      ที่ว่า "ปฏิบัติการตามความเหมาะสมกับเหตุการณ์ที่ควรเป็น" เข้ากับหลักที่เรียกว่า สัปปุริสธรรมเจ็ดนั่นเอง คือ รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาล รู้จักชุมชน รู้จักบุคคล; ที่ว่า "เขาจะตอบคำถามตามอัธยาศัยของผู้ถาม เพียงแต่ชำเลืองดูเท่านั้น" หมายความว่า ผู้ที่ประจักษ์แจ้งอยู่กับจิตเดิมแท้ เขาสามารถตอบคำถามได้ทันทีเมื่อมีผู้ถาม โดยที่ไม่ต้องตระเตรียมคำตอบไว้ก่อน. (๑๒ ก. ย.๖๒)

No comments yet...

Leave your comment

25086

Character Limit 400