#สัจจะไร้สิ่งคู่.
#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.
##ผจญภัยสู่ธรรม#!!!
##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๘, หน้า ๑๑๘; จะนำมาเขียนสัก ๓ ประโยค ดังนี้ :-
##ประโยคที่ ๑ ""ภิกษุชิไช เมื่อยังเป็นฆราวาสมีนามว่า จางฮางจง เป็นชาวเมืองเกียงสี ในวัยหนุ่มเขาชอบการผจญภัย; เนื่องจากสำนักปฏิบัติธรรมสองสำนักนี้ต่างรุ่งโรจน์ทัดเทียมกัน คือ ท่านเว่ยหล่างแห่งสำนักฝ่ายใต้ และชินเชาสำนักฝ่ายเหนือ""
ทั้งท่านเว่ยหล่างและท่านชินเชาเคยอยู่ในสำนักของพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้าด้วยกัน, ท่านเว่ยหล่างเป็นผู้ที่เห็นแจ้งจิตเดิมแท้แล้ว ชัดเจนต่อความเป็นอนัตตาของรูปนาม ส่วนท่านชินเชายังมองเห็นว่า รูปนามเป็นอัตตา ร่างกายมีอยู่เปรียบเหมือนกับต้นโพธิ์ จิตใจมีอยู่เปรียบเหมือนกับกระจกเงาอันใสสะอาด ฉะนั้นต้องรักษารูปรักษานาม รักษากายรักษาใจไว้ให้ดี อย่าให้กิเลสเข้ามาครอบงำได้.
##ประโยคที่ ๒ ""พวกสานุศิษย์บางคนมีหัวรุนแรงในทางถือพวกถือคณะ ทั้ง ๆ ที่อาจารย์ทั้งสองเอง ต่างก็มีใจโอนอ่อนผ่อนตามกัน ไม่ได้ยึดถือเป็นเขาเป็นเรา แต่พวกสานุศิษย์เหล่านี้ กลับเรียกอาจารย์ของตนคือท่านชินเชาว่า เป็นพระสังฆปริณายกที่หก""
ท่านชินเชาเป็นผู้แตกฉานในด้านปริยัติ มีความสามารถในการอธิบายพระสูตรต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง, ท่านชินเชาก็ทราบดีว่าตนเองยังไม่เห็นแจ้งจิตเดิมแท้ และท่านก็ยอมรับว่าท่านเว่ยหล่างเห็นแจ้งจิตเดิมแท้แล้ว พร้อมกับได้รับตำแหน่งเป็นพระสังฆปริณายกองค์ที่หก แต่ด้วยความอิจฉาริษยาของเหล่าศิษย์ที่มีต่อท่านเว่ยหล่าง พวกเขาจึงพยายามสถาปนาอาจารย์ตนเองให้เป็นพระสังฆปริณายก.
##ประโยคที่ ๓ ""ทั้ง ๆ ที่อาจารย์ตนนั้น ไม่มีสิทธิ์อะไรมากไปกว่าพวกเขาเอง, พวกสานุศิษย์สำนักฝ่ายเหนือ ปรกติชอบอิจฉาพระสังฆปริณายก ซึ่งท่านเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ในตำแหน่งนั้น อันใครจะปฏิเสธไม่ได้ เพราะท่านเป็นผู้ได้รับมอบบาตรและจีวร""
มาดูข้อความสักตอนหนึ่งที่พระสังฆปริณายกองค์ที่ห้ากล่าวกับท่านเว่ยหล่างหลังจากที่ได้มอบจีวรและบาตรให้แล้ว ข้อความมีว่า "บัดนี้ท่านเป็นสังฆปริณายกองค์ที่หก ท่านต้องคุ้มครองตัวของท่านให้ดี จงช่วยมนุษย์ให้มากพอที่จะช่วยได้ จงทำการเผยแพร่คำสอน และสืบอายุคำสอนไว้อย่าให้ขาดตอนลงได้...ฯลฯ". (๒๗ ต. ค.๖๒)