#สัจจะไร้สิ่งคู่.
#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.
##ความอิจฉาเป็นเหตุของความเสื่อม
##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๘, หน้า ๑๑๘- ๑๑๙; จะนำมาเขียนสัก ๔ ประโยค ดังนี้ :-
##ประโยคที่ ๑ ""ดังนั้นเพื่อที่จะกำจัดพระสังฆปริณายกเสีย พวกนี้จึงจ้างจางฮางจง ซึ่งในครั้งนั้นยังเป็นฆราวาส ให้มาฆ่าพระสังฆปริณายกเสีย""
เหล่าศิษย์ของท่านชินเชา ซึ่งตามปรกติพวกเขามีความอิจฉาริษยาต่อท่านเว่ยหล่าง (พระสังฆปริณายกองค์ที่หก) ดังนั้นจึงได้ว่าจ้างให้จางฮางจงมาฆ่า; จะเห็นได้ว่า ความอิจฉาริษยา เมื่อเข้าครอบงำจิตใจของผู้ใดแล้ว ก็จะทำความชั่วความผิดแม้ร้ายแรงได้.
##ประโยคที่ ๒ ""ด้วยอำนาจอภิญญาที่สามารถอ่านกระแสจิตของผู้อื่นได้ พระสังฆปริณายกจึงทราบแผนการต่าง ๆ ล่วงหน้า, เมื่อท่านเตรียมตัวไว้พร้อมที่จะรับการฆาตกรรมครั้งนี้แล้ว ท่านก็นำเงินสิบตำลึงมาเก็บไว้ข้าง ๆ อาสนะ""
จากข้อความดังกล่าว จะเห็นว่า ผู้ที่จิตใจสงบ จะไม่แสดงอาการกลัว ไม่มีความวิตกกังวล แต่พร้อมที่จะป้องกันแก้ไขอุปสรรคหรือปัญหาที่จะเกิดขึ้นด้วยปัญญา.
##ประโยคที่ ๓ ""จางฮางจงเมื่อมาถึงวัดตามเวลาอันควร เย็นวันหนึ่ง ก็ย่องเข้าไปในห้องของพระสังฆปริณายก เพื่อทำการฆาตกรรม พระสังฆปริณายกจึงยื่นคอออกไปให้ฟันถึงสามครั้ง แต่ฟันไม่เข้า""
เมื่อได้อ่านข้อความตอนที่ว่า "พระสังฆปริณายกจึงยื่นคอออกไปให้ฟันถึงสามครั้ง แต่ฟันไม่เข้า" ก็ทำให้นึกถึงหลักกาลามสูตร ๑๐ อย่าง คือมีหลักว่า "อย่าเพิ่งเชื่อ ๆ" โดยเฉพาะกาลามสูตรข้อที่สี่ อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าอยู่ในตำรา.
##ประโยคที่ ๔ ""ท่านจึงกล่าวว่า "ดาบที่ตรง ย่อมไม่คด, แต่ดาบคด ย่อมไม่ตรง, ฉันเป็นหนี้ท่าน ก็เพียงเงินเท่านั้น, แต่ชีวิตฉัน ไม่ได้เป็นหนี้ท่านเลย"""
ท่านกล่าวเป็นปุคลาธิษฐานว่า "ดาบที่ตรง ย่อมไม่คด" ดาบตรงในภาษาธรรม หมายถึง จิตเดิมแท้ ซึ่งมีความคมในการตัดความคิดปรุงแต่งได้ถึงที่สุด; "ดาบคด ย่อมไม่ตรง" ดาบคดในภาษาธรรม หมายถึง ความรู้ระดับโลกิยะหรือระดับปริยัติ ซึ่งไม่สามารถตัดความคิดปรุงแต่งได้ ฯลฯ. (๕ พ. ย.๖๒)