#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##กายแห่งอนันตภาวะ#!!!

      ##คำสอนท่านฮวงโป, ตอนที่ ๒๔๕, หน้า ๘๕; ขอแบ่งออกเป็น ๒ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""มีได้แต่คนที่สามารถเปลื้องตนออกมาเสียจากความคิดทำนองนั้นโดยสิ้นเชิงเท่านั้น ที่จะสามารถมีกายแห่งอนันตภาวะได้""

      คำว่า อนันตภาวะ หมายถึง ธรรมชาติแห่งความไม่มีที่สิ้นสุด เป็นสภาวะแห่งความว่างที่ไร้ขอบเขตจำกัด ก็คือ "จิตว่าง" นั่นเอง; ที่ย้ำอยู่บ่อย ๆ ว่า จิตว่างมิใช่นามธรรม, จิตที่เป็นนามธรรม เช่น ความจำ (สัญญา), ความคิด (สังขาร), ธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (วิญญาณ) เป็นต้น;

      แต่สภาวะที่เรียกว่า จิตว่าง มิใช่จิตที่เป็นนามเหล่านี้, ท่านใช้คำว่า กายแห่งอนันตภาวะ; คำว่า กายมีอยู่ ๓ ความหมาย: ๑) รูปกาย หมายถึง กายเนื้อ, ๒) นามกาย หมายถึง กายที่เป็นนามธรรม เช่น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, และ ๓) ธรรมกาย หมายถึง จิตว่าง ก็คือ อนันตภาวะนั่นเอง.

      ##ประโยคที่ ๒ ""ความคิดปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวง เรียกได้ว่า เป็นความเห็นผิด""

      คำว่า ความเห็นผิด บาลีว่า มิจฉาทิฏฐิ เป็นความเห็นที่ไม่ถูกตรงต่อหลักความจริงของธรรมชาติ; ความจริงของธรรมชาติเป็นอยู่อย่างหนึ่ง แต่มีความเห็นความเข้าใจไปอีกทิศทางหนึ่ง เช่นยกตัวอย่าง เงิน วัตถุปัจจัยสี่ โดยธรรมชาติเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกทางร่างกาย,

      แต่ถ้าเข้าใจว่า เงิน วัตถุปัจจัยสี่ให้ความสุข นี้เรียกว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ; หลักความจริงของธรรมชาติ จิตใจที่ไม่มีกิเลสต่างหากให้ความสุข โดยเฉพาะคือ สุขสงบเย็น ไม่ใช่สุขสนุกสนาน; การเห็นแจ้งสว่างไสวอยู่กับกายแห่งอนันตภาวะ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ปราศจากความคิดปรุงแต่งด้วยประการทั้งปวง นั่นแหละคือ สุดยอดแห่งสัมมาทิฏฐิ. (๒๐ พ. ย.๖๒)

No comments yet...

Leave your comment

55628

Character Limit 400