#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##เห็นจิตเดิมแท้เพราะไม่ยึด#!!!

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๘, หน้า ๑๒๐- ๑๒๑; จะนำมาเขียนสัก ๓ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""เพราะว่าสามัญชนและพวกมิจฉาทิฏฐิ เชื่อในความถาวรที่ผิด คือ เชื่อในความเที่ยงแท้ของวิญญาณและโลก""

      ผู้ที่มีความเชื่อว่า วิญญาณและโลกเที่ยงแท้ถาวร เรียกว่า พวกสัสสตทิฏฐิ คือ มีความเห็นว่า เที่ยง, เมื่อร่างกายนี้ตาย ดวงวิญญาณล่องลอยไปเกิดใหม่ได้ มีลักษณะเป็นอัตตาตัวตน 

      ซึ่งตรงกันข้ามกับสุดโต่งอีกฝ่ายหนึ่ง ที่เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ คือ มีความเห็นว่า ขาดสูญหรือตายแล้วสูญ ซึ่งเป็นลักษณะของนิรัตตา คือ ไม่มีอัตตาแบบมิจฉาทิฏฐิอีกอย่างหนึ่ง.

      ##ประโยคที่ ๒ ""ส่วนพวกสาวกก็เข้าใจผิดว่า ความเที่ยงแท้ของนิพพานเป็นสิ่งที่ไม่ถาวร จึงเกิดความเห็นที่กลับกันอยู่แปดประการ""

      ความเห็นที่กลับกันแปดประการ ก็คือ: ๑) ความเที่ยงของวิญญาณและโลก เป็นสิ่งถาวร. ๒) ความเที่ยงของวิญญาณและโลก ไม่ถาวร. ๓) ความไม่เที่ยงของวิญญาณและโลก ถาวร. ๔) ความไม่เที่ยงของวิญญาณและโลก ไม่ถาวร. ๕) ความเที่ยงของนิพพาน เป็นสิ่งถาวร. ๖) ความเที่ยงของนิพพาน ไม่ถาวร. ๗) ความไม่เที่ยงของนิพพาน ถาวร. ๘) ความไม่เที่ยงของนิพพาน ไม่ถาวร; ทั้งแปดนี้ ก็คือ คู่ที่เรียกว่า คติทวินิยมนั่นเอง.

      ##ประโยคที่ ๓ ""เพื่อที่จะชี้ให้เห็นของการมองด้านเดียวเช่นนี้ สมเด็จพระพุทธองค์จึงตรัสสอนให้เข้าใจง่าย ๆ ในมหาปรินิพพานสูตร ซึ่งอธิบายถึงหลักธรรมอันสูงสุดของคำสอนในพระพุทธศาสนา คือ ความถาวรที่แท้จริง ความสุขที่แท้จริง อัตตะที่แท้จริง และความบริสุทธิ์ที่แท้จริง""

      ถาวรคู่กับไม่ถาวร ภาวะที่ไม่มีทั้งถาวรและไม่ถาวร นั่นคือ จิตเดิมแท้, สุขคู่กับทุกข์ ภาวะที่ปราศจากสุขและทุกข์ นั่นคือ จิตเดิมแท้, อัตตาคู่กับนิรัตตา ภาวะที่ว่างจากอัตตาและนิรัตตา ก็คือ จิตเดิมแท้, บริสุทธิ์คู่กับไม่บริสุทธิ์ ภาวะที่อยู่เหนือทั้งบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ นั่นคือ จิตเดิมแท้; สภาวะจิตเดิมแท้ ว่างจากสิ่งคู่ทุกชนิด. (๘ ธ. ค.๖๒)

No comments yet...

Leave your comment

71523

Character Limit 400