#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##สัจจะไม่มีหัวไม่มีชื่อ#!!!

##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๘, หน้า ๑๒๓; จะนำมาเขียนสัก ๔ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""วันหนึ่งพระสังฆนายกกล่าวในที่ประชุมว่า ฉันมีของอย่างหนึ่ง ไม่มีหัว ไม่มีชื่อ ไม่มีฉายา ไม่มีข้างหน้า และไม่มีข้างหลัง ใครรู้จักบ้าง?""

      ท่านเว่ยหล่างกำลังจะกล่าวถึงจิตเดิมแท้ ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่มีรูปร่าง ไม่มีลักษณะด้วยประการทั้งปวง ท่านใช้คำว่า "ไม่มีหัว" หัวเป็นลักษณะของสิ่งที่ปรุงแต่ง ถ้ามีหัวก็ต้องมีท้าย; "ไม่มีชื่อ" สิ่งที่เรียกว่า จิตเดิมแท้ ก็เป็นเพียงคำสมมติ สภาวะจริง ๆ ไร้ชื่อ; "ไม่มีฉายา" หมายถึงไม่มีเงา ไร้ร่องรอย; "ไม่มีข้างหน้า" ที่มีข้างหน้าก็เพราะมีตน (อัตตา); "ไม่มีข้างหลัง" ที่มีข้างหลังก็เพราะมีตนเช่นกัน เมื่อไม่มีตน ก็ไม่มีหน้าตน ไม่มีหลังตน สัจธรรมแท้ว่างจากสิ่งปรุงแต่งทั้งปวง.

      ##ประโยคที่ ๒ ""ชินวุยก้าวออกมาข้างนอกและตอบว่า สิ่งนั้นคือ ที่มาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และคือที่มาของธรรมชาติแห่งพุทธะของชินวุย""

      ชินวุยยังไม่เห็นแจ้งสัจธรรม กล่าวคือ จิตเดิมแท้ ถูกความคิดปรุงแต่งครอบงำอยู่เป็นประจำ การแสดงออกของชินวุย จึงบ่งบอกถึงความฟุ้งซ่านและโอ้อวด ชินวุยใช้คำว่า "ธรรมชาติแห่งพุทธะของชินวุย" คิดว่า มีชินวุย คิดว่า มีธรรมชาติแห่งพุทธะของชินวุย, สัจธรรมแท้ ว่างจากความคิดว่า มีชินวุย และว่างจากความคิดว่า มีธรรมชาติแห่งพุทธะของชินวุย, สัจธรรมแท้ ไร้คำพูด ไม่มีอัตตา.

      ##ประโยคที่ ๓ ""พระสังฆนายกตำหนิว่า ฉันได้บอกท่านแล้วว่า ไม่มีชื่อ ไม่มีฉายา ท่านก็ยังเรียกว่า ที่มาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และที่มาของธรรมชาติแห่งพุทธะ""

      แม้แต่คำว่า พระพุทธเจ้า ก็เป็นเพียงคำสมมุติ สัจธรรมแท้เป็นสากล เป็นสภาวะที่ปราศจากความปรุงแต่ง อิสรภาพเสรีภาพ ไม่มีคำว่า ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู ศาสนาซิก ศาสนาบาไฮ ฯลฯ เพราะว่าคำเหล่านี้ เป็นเพียงการบัญญัติของมนุษย์ ถ้าเข้าไปยึดติดอยู่กับคำบัญญัติดังกล่าว สัจธรรมแท้ ซึ่งเป็นธรรมชาติสากล ก็จะถูกปิดกั้น.

      ##ประโยคที่ ๔ ""แม้ว่าท่านจะเฝ้าเรียนอยู่แต่ในโรงธรรมต่อไป ท่านก็คงเป็นนักศึกษาประเภทจำเอาความรู้ของผู้อื่นมาทั้งสิ้น (ความรู้จากตำราและคำสอน ไม่ใช่ความรู้ที่ได้จากปัญญาญาณ""

      การใช้คำ การใช้ภาษา บ่งบอกถึงความเข้าใจหรือไม่เข้าใจต่อสัจธรรม มีพุทธภาษิตว่า "ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา" จากคำตอบของชินวุย ก็ทำให้ท่านเว่ยหล่างรู้ได้ทันทีว่า คำกล่าวเหล่านั้น ออกมาจากความจำ (สัญญา) ออกมาจากความคิด (สังขาร) มิใช่ความรู้แจ้งที่แท้จริง, สัจธรรมแท้ต้องนิ่ง หุบปากเงียบ ไร้คำพูด. (๑๙ ก. พ.๖๓)

No comments yet...

Leave your comment

58802

Character Limit 400