#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##ปราชญ์แท้ไม่โอ้อวด#!!!

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๙, หน้า ๑๒๕; จะนำมาเขียนสัก ๕ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""พระบรมราชโองการของพระมหาจักรพรรดินีพระพันปีหลวงเช็คทินและพระมหาจักรพรรดิจุงจุง ประกาศเมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย ปีที่ ๑ แห่งรัชกาลชินลุง ดังนี้:""

      เมื่อพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้าแห่งพุทธศาสนานิกายเซน ได้มอบพระธรรมแบบจิตถึงจิตให้กับท่านเว่ยหล่าง พร้อมบาตร จีวร และตำแหน่งพระสังฆปริณายกองค์ที่หกแล้ว ท่านเว่ยหล่างเอง ก็มาตั้งสำนักอยู่ทางใต้ ส่วนท่านชินเชา ก็ไปเผยแพร่ในทางเหนือ มีสำนักอยู่ในปริมณฑลของพระราชวัง; ทีนี้มาดูข้อความในพระบรมราชโองการในประโยคที่สองกัน.

      ##ประโยคที่ ๒ ""เนื่องจากข้าพเจ้าทั้งสอง (พระมหาจักรพรรดิฯ) ได้เชิญท่านพระอาจารย์เว่ยออนและท่านพระอาจารย์ชินเชา ให้พำนักอยู่ในพระราชวัง เพื่อรับของถวาย ข้าพเจ้าได้ศึกษาทางพุทธยานจากท่านพระอาจารย์ทั้งสองนี้ ทุกโอกาสที่ว่างจากพระราชกรณียกิจ""

      ท่านชินเชายังไม่เห็นแจ้งจิตเดิมแท้ ยังมองเห็นว่า รูปนามเป็นอัตตาตัวตน, ดูโศลกธรรมที่ท่านเขียนไว้ในสมัยที่อยู่กับพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้าว่า "กายของเรา คือต้นโพธิ์, ใจของเรา คือกระจกเงาอันใส, เราเช็ดมันโดยระมัดระวังทุก ๆ ชั่วโมง, และไม่ยอมให้ฝุ่นละอองจับ"; มาดูพระบรมราชโองการกันต่อในประโยคที่สาม.

      ##ประโยคที่ ๓ ""แต่ด้วยความถ่อมตนอย่างบริสุทธิ์ใจ ท่านพระอาจารย์ทั้งสองนี้ ได้แนะนำให้ข้าพเจ้าขอคำแนะนำจากท่านพระอาจารย์เว่ยหล่างแห่งสำนักใต้ ซึ่งเป็นผู้ได้รับเลือกสำหรับรับมอบพระธรรมและบาตร จีวร จากพระสังฆนายกองค์ที่ห้า เช่นเดียวกับได้รับหัวใจแห่งธรรมของสมเด็จพระพุทธองค์""

      ท่านชินเชาทราบดีว่า ตนเองยังไม่เห็นแจ้งจิตเดิมแท้ และเชื่อว่า ท่านเว่ยหล่างเห็นแจ้งจิตเดิมแท้แล้ว ดังนั้น จึงแนะนำให้พระมหาจักรพรรดิได้ขอคำแนะนำจากท่านเว่ยหล่าง ซึ่งเป็นพระสังฆปริณายกองค์ที่หก; มาดูพระบรมราชโองการกันต่อในประโยคที่สี่.

      ##ประโยคที่ ๔ ""พร้อมนี้ข้าพเจ้าทั้งสองได้ส่งขันทีชิตกัน เป็นผู้ถือพระบรมราชโองการมานิมนต์พระคุณท่านไปเมืองหลวง และมั่นใจว่า พระคุณท่านคงเมตตาอนุเคราะห์ข้าพเจ้าทั้งสอง ด้วยการไปเยี่ยมเมืองหลวงโดยด่วน..ฯลฯ.""

      จากข้อความทั้งหมดในพระบรมราชโองการ แสดงให้เห็นว่า พระมหาจักรพรรดิทั้งสองมีความศรัทธามั่นต่อพระพุทธศาสนา และเป็นยุคที่พุทธศาสนานิกายเซนกำลังเจริญรุ่งเรืองแพร่หลาย; ท่านเว่ยหล่างอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่เป็น แต่ท่านอยู่ในตำแหน่งระดับสูงสุดของนิกายเซน ก็คือ พระสังฆปริณายกองค์ที่หก; มาดูข้อความในประโยคที่ห้ากันต่อ.

     ##ประโยคที่ ๕ ""เนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์ พระสังฆนายกได้ตอบปฏิเสธการนิมนต์ของพระมหาจักรพรรดิ และขอพระบรมราชานุญาตที่จะใช้ชีวิตอยู่ในป่า""

      จากข้อความดังกล่าว ทำให้นึกถึงคำสอนของท่านเหลาจื้อแห่งลัทธิเต๋าว่า "ปราชญ์ย่อมรักษาความเป็นหนึ่งเดียวไว้ ท่านจึงกลายเป็นแบบอย่างของโลก, ท่านมิได้แสดงตนให้ปรากฏ ความรุ่งโรจน์ของท่านกลับปรากฏขึ้น, ท่านมิได้ผยองลำพอง  ชื่อเสียงของท่านกลับลือเลื่อง, ท่านมิได้โอ้อวดตน ประชาชนกลับไว้วางใจ, ท่านมิได้ภาคภูมิใจ แต่กลับได้เป็นผู้นำของประชาชน"; ความเป็นหนึ่ง ก็คือ จิตเดิมแท้นั่นเอง. (๒๙ ก. พ.๖๓)

1 Comments

แจ่มใส รัตนมาลี
โยมขอกราบสาธุซาบซึ้ง"ความเป็นหนึ่งคือจิตเดิมแท้นั่นเอง" ที่พระอาจารย์กล่าวเจ้าค่ะ โยมกราบขอประทานอภัยที่ถึงโยมจะซาบซึ้งสนใจในธรรมะของพระอาจารย์แต่ไม่สามารถมากราบเรียนรู้จากพระอาจารย์ได้ตามที่กราบขอให้พระอาจารย์แนะนำเนื่องจากมีอุปสรรคมากมายจนต้องเปลี่ยนแผนการทำวิทยานิพนธ์เจ้าค่ะ แต่จิตตั้งมั่นว่าหากบุญเกื้อหนุนจะมา กราบเท้าศึกษาเรื่องสุญญตา จิตเดิมแท้ และนิพพานจากพระอาจารย์ให้ได้สักวันหนึ่งเจ้าค่ะ

Leave your comment

58267

Character Limit 400