#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

วันพระ​ ขึ้น​ ๘ ค่ำ เดือน​ ๑

ชอบ: (0)
ไม่ชอบ: (0)
Created: 23 Dec 2018

           การบวช

คำว่า “บวช” มาจากภาษาบาลี “ปพฺพชฺชา” หมายถึงบรรพชา มีรากศัพท์มาจาก ป (ปะ) แปลว่า ทั่ว และ วช (วะชะ) แปลว่า เว้น มาเป็นคำว่า “บรรพชา” แล้วกลายมาเป็นคำว่า “บวช” ในที่สุด คำว่า “ปพฺพชฺชา” หรือ “บรรพชา” แปลว่า เว้นทั่ว หมายถึง การเว้นทั่วจากอกุศลทั้งปวง เว้นทั่วจากสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือ หมายถึง ออกไปจากสิ่งที่เป็นโทษทำให้จิตใจเศร้าหมอง เป็นทุกข์

ในวันนี้จะขอกล่าวถึงอีกมุมหนึ่งของการบวชในพระพุทธศาสนา "การบวช" หรือ "การเว้นทั่ว" นั้นควรเป็นการเว้นจากกิเลสจากของที่ร้อน "ของร้อนคืออะไร" ของร้อนคือเหตุปัจจัยอย่างหนึ่งที่เข้ามากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เข้ามากระตุ้นจิตใจให้เกิดความรู้สึก มีความสุข-ทุกข์ พอใจ-ไม่พอใจ หงุดหงิด ร้อนใจกับสิ่งต่างๆ ที่ไม่ได้ดั่งใจฯลฯ เพราะขาดสติในการประคองจิตใจ วางจิตใจไม่ถูกต้อง สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นของร้อน ด้วยความยึดมั่นถือมั่น เพราะมีฉัน มีของฉัน เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ แล้วจะทำอย่างไร? ให้รู้สึกว่า "ว่างไปจากตัวฉัน ของฉัน" ไม่ให้เกิดความรู้สึกว่ามีฉัน ไม่ให้ปรากฎความรู้สึกของฉัน ไม่ให้มีความยึดมั่นถือมั่น ให้มันว่างลงไปจากของฉัน แต่ว่างในที่นี้ไม่ใช่ไม่มีเลย ไม่ใช่ว่างเปล่า แต่คือทุกอย่างยังมีเหมือนเดิม แต่มีแล้วไม่ร้อน ไม่เป็นทุกข์ เมื่อสิ่งเหล่านี้เข้ามากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ่งที่จะเป็น "เครื่องมือ" ป้องกันของร้อน พระพุทธองค์ได้ชี้ทางไว้ คือ การฝึกกรรมฐาน การฝึกสติ ในระดับเบื้องต้นเราเรียกว่า"สมถะ" คือ ทำให้จิตใจของเราสงบลงไปจากความคิดปรุงแต่งทั้งหลาย เมื่อจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ จิตใจของเราก็พร้อมที่จะเป็นเครื่องมือในการขัดเกลาจิตใจของเราให้คลายจากความยึดมั่นถือมั่น รู้เท่าทันความคิด รู้เท่าทันสิ่งที่มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีสติปัญญาในการทำความรู้จักของร้อนด้วยความถูกต้องและเห็นโทษของความยึดมั่นถือมั่น มีความเข้าใจในความเป็นธรรมดา เป็น "ตถตา" เช่นนั้นเอง.

No comments yet...

Leave your comment

52162

Character Limit 400