#สัจจะไร้สิ่งคู่.
#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.
##เปิดใจให้โล่งอยู่เสมอ.
##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๑๐, คำสอนครั้งสุดท้าย, หน้า ๑๓๔; จะนำมาเขียนสัก ๔ ประโยค ดังนี้ :-
##ประโยคที่ ๑ ""เราควรเดินทางไปตามคำสอนของพระธรรม อย่าปล่อยใจให้เฉื่อยชา เพราะจะเกิดอุปสรรคแก่ความเข้าใจในหลักธรรมได้""
คำสอนของพระธรรม หมายถึง จิตเดิมแท้ ผู้เดินทางไปตามคำสอนของพระธรรม ก็คือ ผู้ที่เห็นแจ้งเผชิญหน้าอยู่กับจิตเดิมแท้ ท่านกล่าวว่า "อย่าปล่อยใจให้เฉื่อยชา เพราะจะเกิดอุปสรรคแก่ความเข้าใจในหลักธรรม" หมายความว่า ไม่ไปเพ่งจ้องสิ่งอื่นใด ไม่ไปกดดันอยู่กับอะไร แต่จงปล่อยวางและผ่อนคลาย ปล่อยให้จิตใจโปร่งว่างไปตามธรรมชาติ.
##ประโยคที่ ๒ ""การสอนหรือการฟังพระธรรม โดยไม่ได้ปฏิบัติตาม ย่อมเป็นการเปิดช่องให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ""
ผู้ปฏิบัติตาม หมายถึง ผู้ที่เห็นแจ้งประจักษ์อยู่กับจิตเดิมแท้ ไม่ปล่อยให้ความคิดปรุงแต่งเกิดขึ้นมาปิดบัง เปิดใจให้โล่งอยู่เสมอ; ที่ท่านกล่าวว่า "การสอนและการฟังพระธรรมโดยไม่ได้ปฏิบัติตาม ย่อมเป็นการเปิดช่องให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ" หมายความว่า ในขณะที่สอนผู้อื่น หรือว่า ในขณะที่ฟังธรรมจากผู้อื่น แต่ตนเองไม่ประจักษ์แจ้งต่อจิตเดิมแท้ ก็เป็นช่องทางให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดเพิ่มมากยิ่งขึ้น.
##ประโยคที่ ๓ ""ฉะนั้นเราควรเดินทางไปตามคำสอนของพระธรรม และในการเผยแพร่ธรรม ก็ไม่ควรให้ความคิดเห็นถึงความจริงแท้แห่งวัตถุมาชักนำเราไป""
ที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การเดินทางไปตามคำสอนของพระธรรม ก็คือ ผู้ที่เห็นแจ้งเผชิญหน้าอยู่กับจิตเดิมแท้; ที่ว่า "ในการเผยแพร่ธรรม ก็ไม่ควรให้ความคิดเห็นถึงความจริงแท้แห่งวัตถุมาชักนำเราไป" หมายความว่า ในขณะที่สั่งสอนเผยแผ่เกี่ยวกับจิตเดิมแท้ เพื่อให้ผู้ฟังเห็นแจ้งตามต่อจิตเดิมแท้ด้วยนั้น ก็ไม่ควรให้ความคิดเห็นเรื่องวัตถุ เรื่องภายนอกเข้ามาดึงเอาไป.
##ประโยคที่ ๔ ""ถ้าท่านเข้าใจสิ่งที่ฉันพูด และนำไปใช้ในการสั่งสอน ในการปฏิบัติ และในชีวิตประจำวัน ท่านจะสามารถจับความสำคัญของสำนักเราได้""
ท่านเว่ยหล่างได้ยืนยันว่า ถ้าผู้ใดเข้าใจข้อความที่ท่านกล่าวสอน ผู้นั้นชื่อว่า สามารถจับความสำคัญของสำนักของท่าน; ขอย้ำว่า การเดินทางตามคำสอนของพระธรรม ก็คือ การเผชิญหน้าประจักษ์แจ้งอยู่กับจิตเดิมแท้ การทำหน้าที่เผยแผ่ธรรม ก็คือ การสอนเพื่อให้ผู้ฟังเห็นแจ้งตามต่อจิตเดิมแท้ ที่เรียกว่า ถ่ายทอดธรรมจากจิตเดิมแท้ถึงจิตเดิมแท้นั่นเอง. (๑๓ พ. ย.๖๓)