#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##เทคนิคการตอบคำถาม.

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๑๐, คำสอนครั้งสุดท้าย, หน้า ๑๓๕; จะนำมาเขียนสัก ๔ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""เมื่อมีปัญหาถามมา จงตอบไปในทำนองปฏิเสธ""

      ข้อที่ว่า ให้ตอบคำถามในทำนองปฏิเสธ เช่น ถ้าเขาถามว่า "นิพพานเป็นสิ่งสูงสุด เป็นสภาวะที่ตรงกันข้ามกับวัฏฏสงสารมิใช่หรือ?" ก็ตอบเขาไปว่า "นิพพานไม่ใช่สิ่งสูงสุด" แล้วก็อธิบายต่อไปว่า "ภาวะที่ไม่มีทั้งวัฏฏสงสาร ไม่มีทั้งนิพพานที่เป็นคู่กับวัฏฏสงสาร นั่นแหละคือ นิพพานที่แท้จริงและสูงสุด นิพพานที่เป็นคู่กับวัฏฏสงสาร เป็นนิพพานที่คิดเอาเอง แต่นิพพานที่แท้นั้น เป็นสภาวะที่ว่างจากความคิดปรุงแต่งทุกระดับ.

      ##ประโยคที่ ๒ ""ถ้าเป็นปัญหากล่าวปฏิเสธ จงตอบในทำนองบอกรับ""

      คำว่า "ปฏิเสธ" กับคำว่า "บอกรับ" ก็คือ ลักษณะของสิ่งที่เป็นคู่ แต่นำมาใช้เพื่อให้ผู้ฟังหลุดพ้นไปจากสิ่งตรงข้าม คนทั่วไปมักติดอยู่กับความสุดโต่ง ติดในลักษณะยินดีและยินร้าย รักความยินดี ปฏิเสธความยินร้าย แต่การที่ท่านเว่ยหล่างแนะนำให้ใช้หลักการสอนด้วยวิธีดังกล่าว ก็เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความลังเลสงสัยเป็นเบื้องต้นต่อความคิดที่สุดโต่ง, ต่อจากนั้นก็ชี้นำให้ผู้ฟังเข้าถึงความเห็นแจ้งต่อทางสายกลาง.

      ##ประโยคที่ ๓ ""ถ้าถูกถามถึงสามัญชน จงตอบเรื่องของปราชญ์ จากการเปรียบเทียบกันหรืออ้างอิงกันระหว่างสิ่งตรงข้ามทั้งคู่ จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจในทางสายกลางได้""

      ท่านกล่าวในทำนองว่า การชี้ให้ผู้ฟังเห็นโทษของสิ่งที่เป็นคู่ ๆ ที่เรียกว่า คติทวินิยมนั้น เป็นวิธีเพื่อให้ผู้ฟังเข้าถึงทางสายกลาง, ในประโยคนี้ท่านยกตัวอย่าง "สามัญชนกับปราชญ์" การยึดติดอยู่กับสิ่งที่เป็นคู่ ย่อมเป็นอุปสรรคปิดกั้นทางสายกลาง การเห็นแจ้งต่อจิตเดิมแท้ เรียกว่า อยู่ในทางสายกลาง.

      ##ประโยคที่ ๔ ""ถ้าปัญหาต่าง ๆ ถามมาในทำนองนี้ ท่านจงอย่าตอบให้ผิดไปจากสัจจะ""

      สิ่งที่เรียกว่า สัจจะ ก็คือ จิตเดิมแท้ ที่ว่าอย่าตอบให้ผิดไปจากสัจจะ หมายความว่า อย่าให้คำถามลากเราออกไปจากจิตเดิมแท้ แต่ตรงข้าม ผู้สอนต้องดึงให้ผู้ถามเข้ามาหาสัจจะให้ได้ ด้วยการใช้วิธีชี้โทษของคติทวินิยม เพราะว่า โดยธรรมชาติของคนทั่วไป มักจะยึดติดอยู่กับสมมุติ หลงติดอยู่กับภาษา จึงทำให้เกิดความคิดปรุงแต่งชนิดที่เป็นความสุดโต่งขึ้นมา. (๑๗ พ. ย.๖๓)

No comments yet...

Leave your comment

87529

Character Limit 400