#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##มรรค คือทางสว่าง#!!!

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, อยู่ในหมวดที่ ๑๐, หน้า ๑๓๗; จะนำมาเขียนสัก ๔ ประโยค ดังนี้:-

      ##ประโยคที่ ๑ ""บรรดาผู้ที่ดำเนินไปตามมรรค จงกระตุ้นเตือนตนเอง และคอยหมั่นระวังในฐานะที่เป็นสานุศิษย์ของสำนักมหายาน""

      ผู้ดำเนินไปตามมรรค ก็คือ ผู้ที่ประจักษ์แจ้งอยู่กับจิตเดิมแท้, เบื้องต้น เรียกว่า โสดาปัตติมรรค, ละเอียดขึ้นไป เรียกว่า สกิทาคามิมรรค, ลึกซึ้งขึ้นไปอีก เรียกว่า อนาคามิมรรค, ถึงที่สุดเสถียรถาวร เรียกว่า อรหัตตมรรค; ท่านได้ย้ำว่า "จงกระตุ้นเตือนตนเองและคอยหมั่นระมัดระวัง" เพื่ออะไร? ก็เพื่อให้ก้าวหน้าพัฒนาไปสู่ความสิ้นกิเลสเป็นอรหันต์.

      ##ประโยคที่ ๒ ""จงอย่ารวบรัดเอาความรู้ประเภทที่จะผูกพันท่านไว้กับกงจักรแห่งความเกิดและความตาย""

      ความรู้ที่ทำให้เกิดการผูกพันอยู่กับกงจักรแห่งความเกิด- ตาย ก็คือ รู้จำ รู้คิด รู้ทฤษฎี ซึ่งต่างไปจากความรู้ที่ประจักษ์แจ้งต่อสัจธรรมจริง ๆ; ความรู้จำ รู้คิด เป็นอุปสรรคที่เข้ามาขวางกั้นสัจธรรม กล่าวคือ จิตเดิมแท้ ดังนั้นต้องเปลื้องความรู้จำ รู้คิดออกไป เมื่อปราศจากความรู้จำ รู้คิด รู้ทฤษฎี ก็ย่อมเข้าถึงสิ่งสูงสุด หมายถึง จิตเดิมแท้หรือพระนิพพาน.

      ##ประโยคที่ ๓ ""สำหรับบุคคลที่มีความรู้สึกสอดคล้องกัน จงอภิปรายกันในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา""

      หลักธรรมในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าอุปมาเหมือนกับใบไม้กำมือเดียว ก็คือ เรื่องความทุกข์และความไม่เป็นทุกข์ ถ้าจะขยายออกเป็นสี่ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค; ทุกข์กับสมุทัยรวมกัน ก็คือ ความทุกข์, นิโรธกับมรรครวมกัน ก็คือ ความไม่เป็นทุกข์; ท่านกล่าวในทำนองว่า บุคคลที่มีความรู้สึกสอดคล้องกัน จงสนทนาอภิปรายกันในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ก็คือ สนทนาเรื่องความทุกข์และความไม่เป็นทุกข์นั่นเอง.

      ##ประโยคที่ ๔ ""ส่วนบุคคลที่มีทัศนะต่างจากเรา จงปฏิบัติต่อเขาอย่างสุภาพ ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสุขให้กับเขา""

      การอยู่กันในสังคมจะให้ทุกคนมีทัศนะเหมือนกันทั้งหมดนั้น คงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นท่านจึงแนะนำว่า การเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีทัศนะหรือความเห็นไม่ตรงกับเรา ก็ให้เกี่ยวข้องกับเขาอย่างสุภาพ แสดงออกถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน การเป็นคนสุภาพอ่อนโยน ย่อมมีผลดีทั้งในด้านจิตใจของตนเองด้วย และในด้านของการอยู่ร่วมกันทางสังคมด้วย. (๒๙ ม. ค.๖๔)

No comments yet...

Leave your comment

96608

Character Limit 400