#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

ธรรมเทศนาวันพระ

ชอบ: (0)
ไม่ชอบ: (2)
Created: 16 Jan 2019

นิธีนํ ว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ = พึงเห็นคำของคนชี้โทษว่าเป็นคำที่บอกขุมทรัพย์

ขุมทรัพย์ ของบุคคลทั่วไป คือ วัตถุสิ่งของ ข้าวของเงินทอง ฯลฯ

ขุมทรัพย์ ในพระพุทธศาสนา การชี้โทษ คือ การพัฒนาและแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ และยกระดับของจิตใจ

ผู้ที่จะชี้โทษผู้อื่นได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติต้องเป็นผู้มีคุณธรรม ไม่ใช่ว่าจะเป็นแต่เพียงผู้ที่เหนือกว่า มีอำนาจมากกว่าหรือมีวุฒิเหนือกว่า หรือมีความเสมอกันกับผู้ถูกชี้โทษ

ในพระพุทธศาสนามีหลักในการชี้โทษ คือ จะชี้โทษใคร ต้องมีจิตใจที่มีเมตตาต่อบุคคลผู้นั้นให้ได้เสียก่อน ถ้าปราศจากคุณธรรมข้อนี้ จะกลายเป็นว่าเรากล่าวตำหนิผู้อื่น ข่มผู้อื่น เพื่อให้เรานั้นดูดีกว่า เก่งกว่า เมื่อปราศจากความเมตตา จิตของเราจะไหลไปตามอำนาจของกิเลส คือโทสะ โลภะ โมหะ ด้วยการกระทำ คำพูด จะเป็นการตำหนิผู้อื่นด้วยความโกรธ ด้วยความไม่พอใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งมากกว่าที่จะเป็นการกล่าวตักเตือนด้วยความเมตตา ความปรารถนาดีเพื่อให้บุคคลอื่นมีจิตใจที่ดี เกิดการแก้ไขข้อบกพร่องและพัฒนาได้อย่างแท้จริง

ท่านอาจารย์พุทธทาส ได้วางหลักไว้ให้ว่า "ถ้าสิ่งที่เขาพูดเป็นเรื่องจริง เราก็นำกลับไปพัฒนาไปปรับปรุง ไม่เห็นว่าจะต้องไปโกรธ ไปโมโหหรือหงุดหงิดอะไร เพราะมันเป็นเรื่องจริง" เขาชี้โทษมาถึงแม้ว่าคำพูดนั้นจะมีความโกรธเป็นพื้นฐาน ไม่ได้มีความเมตตา แต่นำกลับมาแก้ไขปรับปรุงพัฒนา ละข้อบกพร่องต่างๆ ในชีวิตให้ดีขึ้น แต่ถ้ามันเป็นเรื่องไม่จริง ท่านอาจารย์พุทธทาสกล่าวว่า "จะไปเดือดร้อนทำไม ในเมื่อมันไม่ใช่เรื่องจริง จะไปใส่ใจ จะไปโกรธ จะไปหงุดหงิดทำไม ในเมื่อมันไม่จริง"

ข้อที่สำคัญที่สุดคือ "การมีความเมตตา" เป็นพื้นฐานในการชี้โทษ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา

จุดที่ยากที่สุด คือ เราจะเมตตาคนที่เราเกลียดได้อย่างไร?

No comments yet...

Leave your comment

22660

Character Limit 400