#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##ความทุกข์ คือภัยแท้.

      ##คำสอนของท่านเว่ยหล่าง, หมวดที่ ๑๐, หน้า ๑๔๕- ๑๔๖; จะนำมาเขียนสัก ๒ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""โปรดฟังฉัน บรรดาสานุศิษย์ในอนาคต เวลาของท่านจะสิ้นไปอย่างเปลือยเปล่า ถ้าท่านเพิกเฉยไม่นำคำสอนนี้ไปปฏิบัติ""

      ท่านเว่ยหล่างได้ย้ำเตือนสานุศิษย์ให้มองเห็นความสำคัญของจิตเดิมแท้ และการปฏิบัติเพื่อความเห็นแจ้งต่อจิตเดิมแท้ โดยเฉพาะการเห็นแจ้งแบบฉับพลัน; ชาวพุทธทราบกันดีว่า พระพุทธเจ้าสอนให้ดำเนินอยู่ในมัชฌิมาปฏิปทา หรือที่เรียกว่า ทางสายกลาง ซึ่งเป็นความถูกต้องแปดประการ, 

      สุดโต่งไปฝ่ายย่อหย่อนก็ไม่ถูกต้อง เป็นอุปาทาน สุดโต่งไปฝ่ายตึงก็ไม่ถูกต้อง เป็นอุปาทานเหมือนกัน การเห็นแจ้งอยู่กับจิตเดิมแท้ ปล่อยวาง ไม่ยึดติดกับสิ่งใด นั่นแหละคือ ความถูกต้องหรือมัชฌิมาปฏิปทา ความรู้ความฉลาดที่ประจักษ์แจ้งอยู่กับจิตเดิมแท้ นั่นแหละเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ซึ่งแปลว่า ความเห็นถูกต้อง.

      ##ประโยคที่ ๒ ""เมื่อโศลกจบลงแล้ว พระสังฆนายกกล่าวต่อไปว่า จงรักษาตัวให้ดี เมื่อฉันเข้าปรินิพพานแล้ว จงอย่าเอาอย่างธรรมเนียมโลก อย่าร้องไห้หรือเศร้าโศก ไม่ควรปล่อยให้เกิดความเสียใจหรือคร่ำครวญ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องตรงข้ามกับคำสอนที่แท้ ใครที่ทำเช่นนั้น ย่อมไม่ใช่ศิษย์ของฉัน""

      ท่านได้ชี้ให้เห็นว่า ความชราภาพและความตายของร่างกาย เป็นเรื่องธรรมดา ไม่จำเป็นต้องร้องไห้ เศร้าโศก เสียใจ, ความแก่ ความตายทางร่างกาย ไม่ใช่ภัยอันใหญ่หลวง

      ความทุกข์ที่เกิดขึ้นในจิตใจต่างหาก ที่เป็นภัยอันใหญ่หลวงของมนุษย์, ความชราและความตายทางร่างกาย เราไม่สามารถห้ามได้ แต่ความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับจิตใจ เป็นสิ่งที่เราสามารถห้ามได้ ป้องกันได้ ดังนั้น ท่านจึงให้มองเห็นความสำคัญกับการเห็นแจ้งต่อจิตเดิมแท้ ซึ่งเป็นที่สุดแห่งทุกข์. (๗ ก. ค.๖๔)

No comments yet...

Leave your comment

11424

Character Limit 400