#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

กิจกรรมเข้าวัดวันอาทิตย์1

ชอบ: (0)
ไม่ชอบ: (0)
Created: 18 Jan 2019

 เบื้องหลังกาย วาจา ใจ คือ ทิฏฐิ

การแสดงออกของมนุษย์เรานั้นมี ๓ ทาง คือ ทางกาย วาจา ใจ ซึ่งตรงกับหลักทางพระพุทธศาสนาดังนี้

๑. พฤติกรรมทางกาย การกระทำที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง เรียกว่า"กายกรรม"

๒. การพูดจา พูดจาไพเราะน่าฟังบ้าง ไม่น่าฟังบ้าง เรียกว่า"วจีกรรม"

๓. ทางใจ คือ ความรู้สึกนึกคิด ผู้อื่นอาจไม่สามารถรับรู้ได้ มีแต่ตัวของเราเองเท่านั้นที่เป็นผู้รู้ ไม่ว่าจะคิดดีหรือคิดไม่ดีถือเป็นมโนกรรมทั้งสิ้น มโนกรรม ถือเป็นกรรมที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นเรื่องของจิตใจหรือเจตนาความจงใจ มโนกรรมนั้น มีอิทธิพลต่อ กายกรรมและวจีกรรม ถ้ามโนกรรมดี การแสดงออกทางกายก็จะดี มีความถูกต้องทางกาย มีวาจาไพเราะน่าฟังถูกต้องตามกาลเทศะ ไม่พูดส่อเสียด นินทาว่าร้าย ไม่เพ้อเจ้อ มีความดีทางวาจา มีจิตใจดี เป็นสมาธิตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่หงุดหงิดง่าย หรือเศร้าหมองไปตามสิ่งบีบคั้นทางสังคม มีสติรู้เท่าทันตามความเป็นจริง มีความดีทางจิตใจ บุคคลก็ดี สังคมก็ดี จะเป็นอย่างไรก็ดำเนินไปตามมโนกรรมเป็นใหญ่

พฤติกรรมทั้ง ๓ อย่างนี้จะถูกควบคุมด้วย"ทิฏฐิ"

ทิฏฐิ คือ ความเห็นความเชื่อ ความเข้าใจที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นสิ่งนำพาและมีบทบาทในการกำหนดวิถีชีวิตของแต่ละคนให้ดำเนินไปในทิศทางใด ความเห็นความเชื่อที่ถูกต้อง เรียกว่า"สัมมาทิฏฐิ" ความเห็นความเชื่อที่ผิด เรียกว่า "มิจฉามิฏฐิ" เป็นความเห็นหรือความเข้าใจที่ผิด นำไปสู่ความเสื่อม ทำให้ไม่มีจิตสำนึก ไม่มีความรับผิดชอบ

"สัมมาทิฏฐิ" ถือเป็นจุดเริ่มต้นหรือเป็นสิ่งที่นำพาให้การดำเนินชีวิตมีความสุขความเจริญหรือนำไปสู่ความสิ้นทุกข์ โดยเป็นการพัฒนาชีวิตด้วยคุณธรรมพื้นฐาน ๓ ด้าน คือ

๑. ศีล มีกาย วาจาดี ประพฤติดีมีความถูกต้อง

๒. สมาธิ มีจิตใจตั้งมั่น บริสุทธิ์ ปราศจากนิวรณ์เครื่องรบกวนจิต

๓. ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ )คือ ความเห็นที่ถูกต้องตามความเป็นจริงของชีวิต เป็นสิ่งที่คอยควบคุม และประคับประคองชีวิตของเราให้เป็นไปตามครรลองคลองธรรม

No comments yet...

Leave your comment

88943

Character Limit 400