#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##เซนคือภาวะที่ไร้หลัก.

      ##คำสอนท่านฮวงโป, ตอนที่ ๓๔๐, หน้า ๑๑๙; จะขอแบ่งออกเป็น ๔ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""แม้หากว่าเธอได้รับ "วิธีการ" อะไรบางอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ มาจากเขาจริง มันก็จะเป็นแต่เพียงสิ่งที่สร้างขึ้นจากความคิด หามีอะไรเกี่ยวกับเซนไม่เลย""

      คำว่า เซน ก็คือ จิตหนึ่ง หรือสุญญตา การเข้าถึงเซน ก็คือ การเห็นแจ้งจิตหนึ่งหรือเห็นแจ้งสุญญตา ถ้าเข้าไปยึดติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งเหล่านั้นก็จะปิดกั้นสุญญตา ซึ่งเป็นภาวะที่ปราศจากความคิดปรุงแต่งด้วยประการทั้งปวง.

      ##ประโยคที่ ๒ ""เพราะเหตุนั้นเอง ท่านโพธิธรรมจึงได้เข้าฌานนิ่ง ๆ หันหน้าเข้าผนังถ้ำเสีย ท่านไม่หาทางที่จะนำคนให้มีความคิดเห็นต่าง ๆ นานา""

      ท่านโพธิธรรมเป็นพระสังฆปริณายกองค์ที่หนึ่งของนิกายเซน เมื่อเข้าไปประกาศธรรมตามแบบเซนในประเทศจีน ตอนแรก ๆ ท่านมิได้สอนอะไรเลย นั่งนิ่ง ๆ หันหน้าเข้าผนังถ้ำ สัจธรรมแท้อยู่เหนือคำพูด สิ่งที่พูดได้มิใช่ความจริง ฉะนั้นการถ่ายทอดธรรมตามแบบเซน จึงถ่ายทอดด้วยจิตถึงจิต.

      ##ประโยคที่ ๓ ""ดังนั้น จึงมีคำจารึกไว้ว่า "การนำออกมาจากใจเสียให้หมดสิ้น แม้กระทั่งหลักซึ่งเป็นที่เกิดแห่งการประกอบกรรมต่าง ๆ นั่นแหละคือ คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย""

      คำว่า "ใจ" หมายถึง จิตหนึ่งหรือจิตว่าง ที่ว่า การนำออกมาจากใจ หมายถึง การปล่อยวาง ไม่ยึดติดกับสิ่งใด แม้กระทั่ง "หลักธรรมเพื่อการปฏิบัติ" ก็ต้องสลัดทิ้งให้หมดสิ้น สิ่งที่เรียกว่า กรรมก็กลายเป็นกิริยา.

      ##ประโยคที่ ๔ ""ส่วนคติทวินิยมนั้น เป็นเรื่องในวงของหมู่มาร ในขณะเดียวกันนั่นเอง""

      ท่านฮวงโปได้ชี้ให้เห็นว่า คติทวินิยม คือ สิ่งที่เป็นคู่ ๆ เช่น บุญ- บาป, สุข- ทุกข์, ดี- ชั่ว เป็นต้นนั้น เป็นเรื่องของหมู่มาร เรียกว่า กิเลสมารนั่นเอง ถ้ายึดสิ่งใด ฝ่ายตรงข้ามก็จะเกิดขึ้นตามมา เช่น ถ้ายึดบุญ สิ่งที่เรียกว่า บาป ซึ่งเป็นคู่กัน ก็จะตามมาด้วย แต่ธรรมชาติของจิตหนึ่ง ว่างจากของคู่ทุกชนิด. (๑๙ ม. ค.๖๕)

No comments yet...

Leave your comment

43864

Character Limit 400