#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

##สภาวะที่ไร้มิติ#!!!

      ##คำสอนท่านฮวงโป, ตอนที่ ๓๔๒, หน้า ๑๒๐; จะขอแบ่งออกเป็น ๕ ประโยค ดังนี้ :-

      ##ประโยคที่ ๑ ""โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้น เป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่""

      คำว่า มิติ แปลว่า การวัด สิ่งที่วัดได้ สิ่งที่กินเนื้อที่ เป็นลักษณะของสังขตธรรม คือ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งทุกชนิด ทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม แต่จิตหนึ่งเป็นอสังขตธรรม คือ สภาวะที่ว่างจากความปรุงแต่ง ดังนั้นจึงปราศจากมิติทุกชนิด.

      ##ประโยคที่ ๒ ""ปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ""

      จิตหนึ่งหรือจิตว่าง (สุญญตา) ปราศจากกิเลส เช่น โลภ โกรธ หลง เป็นต้น ปราศจากกรรม การกระทำทุกชนิดเป็นเพียงกิริยา กระทำไปด้วยความตื่นรู้ ไม่เจือด้วยอวิชชา ที่ว่า ปราศจากสัมมาทิฏฐิ หมายถึง ว่างจากสัมมาทิฏฐิที่เป็นคู่กับมิจฉาทิฏฐิ.

      ##ประโยคที่ ๓ ""พวกเธอต้องเข้าใจอย่างกระจ่างชัดว่า ในสิ่งนี้ไม่มีอะไรเลย ไม่มีคนธรรมดา ไม่มีพระพุทธเจ้า""

      สิ่งที่เรียกว่า จิตหนึ่งหรือความว่าง ไม่มีสังขตะทุกชนิด ที่ท่านกล่าวว่า ไม่มีคนธรรมดา ไม่มีพระพุทธเจ้า หมายความว่า ไม่มีความคิดว่า มีคนธรรมดา ไม่มีความคิดว่า มีพระพุทธเจ้า ภาวะที่ว่างจากความคิดซึ่งเป็นคู่ ๆ ทุกชนิด นั่นแหละคือ พระพุทธเจ้าที่แท้จริง.

      ##ประโยคที่ ๔ ""เพราะว่าในความว่างนี้ ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นผมที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งที่จะมองเห็นได้โดยทางมิติเลย""

      ท่านชี้ให้เห็นว่า ภาวะของความว่างที่แท้จริง กล่าวคือ สุญญตา เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอะไรเลยที่เป็นความปรุงแต่งแม้เล็กที่สุด ที่ว่า เห็นได้โดยทางมิติ คือ เห็นได้ด้วยการวัด ซึ่งใช้ได้กับสิ่งปรุงแต่ง ส่วนความว่างนั้น อยู่เหนือมิติ.

      ##ประโยคที่ ๕ ""มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด""

      สิ่งที่เรียกว่า จิตหนึ่ง ซึ่งเป็นอสังขตะ เป็นธรรมชาติที่สมบูรณ์อยู่ในภาวะของจิตหนึ่งเอง โดยที่ไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยใด ๆ มาเสริมเติมแต่ง เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหตุเหนือผล จิตหนึ่งไม่ต้องสำเร็จมาจากเหตุใด ๆ จิตหนึ่งไม่ได้เป็นผลของอะไร ท่านจึงกล่าวว่า ไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด. (๒๖ ม. ค.๖๕)

No comments yet...

Leave your comment

52197

Character Limit 400