#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

กิจกรรมเข้าวัดวันอาทิตย์

นิพพานํ ปรมํ สุขํ แปลว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ความสุข มี ๒ ชนิด คือ ๑.ความสุกร้อนสุกไหม้ ความสุขสนุกสนาน ความสุขที่ไม่สงบเป็นความสุขที่เสียดแทงทำให้จิตใจเกิดความเหนื่อยล้า ขุ่นมัวไม่ผ่องใส เป็นจิตใจที่เป็นทุกข์ เป็นความสุขที่สะกดด้วย ก.ไก่ เช่นการดีใจหรือเสียใจ ดีใจมากเกินไปจนตื่นเต้น นอนไม่หลับ กินข้าวไม่ลงก็เหนื่อย เสียใจก็เป็นทุกข์ฟุ้งซ่านรำคาญใจเป็นต้น ๒.ความสุขสงบเย็น คือ จิตใจที่สงบ เย็น ที่เป็นอิสระ ไม่มีความทุกข์ ไม่มีดีใจ ไม่มีเสียใจ ภาษาธรรม เรียกว่า อมตะ คือไม่ตาย อมตะธรรม คือ จิตใจที่ไม่มีความทุกข์ คือ นิพพาน นิพพาน แปลว่า เย็น สงบ ชีวิตของเรานั้นมี ๒ ส่วน คือ กาย กับ ใจ แบ่งเป็นทรัพย์ภายนอก และทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายนอก คือ โภคทรัพย์ ทรัพย์ภายใน คือ อริยทรัพย์ ชีวิตฝ่ายร่างกาย ตายเมื่อหมดลมหายใจ ชีวิตฝ่ายจิตใจ ตายเมื่อจิตใจมีความทุกข์ ชีวิตจะดำรงอยู่ได้เราต้องพัฒนาทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทางร่างกายจะรอดได้ ต้องอาศัยโภคทรัพย์ คือทรัพย์ภายนอก เรียกว่า วัตถุปัจจัย ๔ มีดังนี้ ๑.อาหาร ๒.เครื่องนุ่งห่ม ๓.ที่อยู่อาศัย ๔.ยารักษาโรค วัตถุปัจจัย ๔ เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตภายนอก บางคนมีมากบางคนมีน้อยตามกำลังของหน้าที่การงาน การรู้จักพัฒนาสร้างสรรมีสติปัญญาในการหามาและดูแลรักษาไว้ ทางจิตใจแม้จะรอดได้ เย็นได้ก็ต้องอาศัย "อริยทรัพย์" อริยทรัพย์ ทรัพย์อันประเสริฐ ทรัพย์ของผู้เป็นอริยะ มี ๗ ประการ คือ ๑. ศรัทธา ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ในฐานะที่เป็นชาวพุทธเราต้องมีศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา ศรัทธาในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๒. ศีล คือ ความปกติ การรักษากาย วาจาให้เรียบร้อย ศีลทำให้งามทำให้สวยด้วยคุณธรรม ๓. หิริ คือ ความละอายแก่ใจที่จะทำความชั่วและบาป ๔. โอตตัปปะ คือความกลัวต่อผลของการกระทำที่ไม่ถูกต้อง โอตตับปะ คือ ความกลัวหากเรากลัวต่อสิ่งใดให้เราหลีกต่อสิ่งนั้นไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง เมื่อเรากลัวความผิดความชั่ว เราก็จะทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม หิริ คือเกรง หากเราเกรงต่อสิ่งใดให้เขาไปหาสิ่งนั้น เช่นเรากลัวคนชั่วคนพาล แต่เราเกรงคนดีมีศีลธรรม เป็นนักปราชญ์บัณทิต ความชั่วความดีอยู่ที่กาย วาจา ใจ ให้เรากลัวความชั่ว แต่ให้เกรงความดี เกรงความดีก็ต้องทำความดีทางกาย วาจา ใจ หิริโอตตับปะ เรียกว่า เทวธรรม เทวะ คือเทวดา ในพระพุทธศาสนาคือผู้ที่มีหิริโอตตับปะ เรียก เทวธรรม ทุกคนสามารถเป็นเทวดาได้ หากมีหิริโอตตับปะ ๕. พาหุสัจจะ คือความเป็นคนผู้ฟังมาก มีความรู้เป็นปราชญ์บัณฑิต เป็นชาวพุทธต้องรู้จักขวนขวายในการค้นคว้าหาความรู้เพื่อพัฒนาตน เป็นอริยทรัพย์ ๖. จาคะ คือการเสียสละ การเอาออก การปล่อย   การวาง สิ่งที่ไม่ถูกต้องทางกาย วาจา ใจ ให้สละออกไป ในด้านวัตถุปัจจัย ๔ คือ ทาน ให้เสียสละแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่น เรียกว่า จาคะ ๗. ปัญญา คือ คนมีปัญญาในความหมายของอริยทรัพย์คือการประพฤติปฏิบัติทางกาย วาจาใจ ถ้าเป็นความรู้ในด้านทฤษฎี คือ พหูสูต เป็นผู้ฟังมากและความฉลาดรู้บาปบุญคุณโทษ ถ้าเป็นความรู้ที่สามารถเอาชนะความทุกข์หรือกิเลสได้คือ"อริยทรัพย์" เป็นทรัพย์ภายใน"เป็นคุณธรรม" "อริยทรัพย์" จัดเป็นทรัพย์ภายใน ไม่ใช่ทรัพย์ภายนอกเหมือน ทรัพย์สินเงินทอง แต่ดีกว่าทรัพย์ภายนอกเพราะเป็นทรัพย์ติดตัวไม่มีใครลักขโมยเอา ไปได้ ไม่ต้องออกแรง ไม่ต้องสร้างเครื่องป้องกัน และ ติดตามไปได้ทุกหนทุกแห่งโดยไม่ต้องแบกหามไป ที่สำคัญคือสามารถทำให้พ้นทุกข์ได้และเป็นเหตุให้บรรลุนิพพาน

No comments yet...

Leave your comment

34746

Character Limit 400