#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

“ความสุขที่ได้จากการปฏิบัติธรรม”

โดย: Lita De Pran
ชอบ: (0)
ไม่ชอบ: (0)
Created: 08 Apr 2019

ผู้มีธรรมะ หมายถึง สภาพที่สูงศักดิ์ไว้พร้อมด้วยฝ่ายกุศลธรรมโดยมุ่งเน้นการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพื่อเกิดความสุข ความสงบในจิตใจ

หรือ ในทางตรงกันข้ามนั้น ธรรมะที่ทรงศักดิ์ไว้มิให้ประพฤติชั่วคือฝ่ายอกุศลธรรมอันเป็นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวง

กุศล  (แปลว่า ฉลาด) ทางปัญญาอันเป็นธรรมฝ่ายดี ที่พึ่งมีไว้ในตนเอง

อกุศล” (แปลว่า ไม่ฉลาด) ทางปัญญาอันเป็นธรรมฝ่ายไม่ดี ไม่มีประโยชน์ ซึ่งทุกคนควร ละเว้น

การปฏิบัติธรรมมี 2 ระดับ คือ

.  ระดับศีลธรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย นำพาความสันติสุขมาสู่สังคม อาทิเช่น การถือศีล เป็นต้น  หรือตามที่ท่านพุทธทาส กล่าวว่าให้ถือศีล รักผู้อื่นเพียงข้อเดียวเราจะละเว้นการเบียดเบียนผู้อื่น ทั้งในเรื่อง กาย วาจา ใจ 

 . ระดับปรมัตถธรรม อันเป็นธรรมที่มีประโยชน์สูงสุด ปฏิบัติได้เฉพาะตน เพื่อสันติสุขในส่วนบุคคล มุ่งเน้นการสร้างความเพียรให้จิตใจ สงบ สะอาด สว่าง หรือ เรียกว่า จิตว่าง คือ นิพพาน นั่นเอง ทั้งนี้การประพฤติธรรมในระดับปรมัตถธรรม ต้องอาศัยการฝึกวิปัสสนาญาณว่าด้วยความเข้าใจใน กฎของธรรมชาติ กล่าวคือกฎอิทัปปัจจยตา”-“ตถตา” (มันเป็นเช่นนั้นเอง) 

อุปาทานขันธ์ทั้ง เป็นตัวทุกข์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจรวมเรียกว่าอายตนะภายใน ซึ่งเมื่อเกิดผัสสะ กระทบอายตนะภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ธรรมมารมณ์ (สิ่งที่ใจคิด) 

 ตาทำให้เห็นรูป, หูทำให้เกิดเสียง, จมูกทำให้เกิดกลิ่น, ลิ้นเกิดรส, กายเกิดโผฏฐัพพะ และใจเกิดธรรมมารมณ์; ทั้งหมดเป็นการเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งธรรมชาติจัดสรรให้ทุกคนมีเหมือนกัน คือทางร่างกาย

สรรพสิ่งเป็นเพียงปรากฎการณ์ธรรมชาติ และปรากฎการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นเพียงมายา, “มายาแปลว่า ของที่ไม่มีอยู่จริง แต่เสมือนมีอยู่จริง จิตใจเป็นมายา คือรูปและนาม เราไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ดังนั้น เราต้องวางใจให้ถูก บริบูรณ์ด้วยสติปัญญาเห็นแจ้ง เป็นจิตว่างไม่มีอัตตา

ความแตกต่างระหว่างอริยบุคคลที่ปฏิบัติธรรมกับผู้ไม่ได้ปฏิบัติธรรม คือเรื่องของการเสวยเวทนา, สำหรับปุถุชนมีเวทนา ระดับคือ เวทนาทางกาย เวทนาทางจิต แต่อริยบุคคลนั้น เสวยเวทนาทางกายเพียงอย่างเดียว เพราะสามารถเข้าใจประจักษ์แจ้งในเรื่องกฎของธรรมชาติ กฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตากฎสมมติสัจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาที่เหมาะสม หากแต่กฎธรรมชาตินั้นเป็นกฎตายตัวและเกิดขึ้นตามสภาวะที่เป็นจริง เมื่อผู้ใดเข้าใจเช่นนี้ จะอยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ 

เรียบเรียงธรรมเทศนา โดย ลลิต มณีธรรม

No comments yet...

Leave your comment

49287

Character Limit 400