#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

“โลกตามที่เป็นอยู่จริง”

โดย: Lita De Pran
ชอบ: (0)
ไม่ชอบ: (2)
Created: 13 May 2019

โลกตามที่เป็นอยู่จริง

อวิชฺชายนิวุโตโลโกเววิจฺฉา(ปมาทา) นปฺปกาสติชปฺปาภิเลปนํพฺรูมิทุกฺขมสฺสมหพฺภยํ

โลกถูกอวิชชาปิดบังแล้วไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่(และความประมาท), เรากล่าวความอยากว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น”.

คำว่าโลกนั้นมีหลายความหมายแตกต่างกันไปแต่ในเชิงพุทธศาสนาคำว่าโลกมีได้หลายความหมายขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อมของประโยคนั้นๆ, คำว่าโลกนั้นอธิบายได้หลายแง่มุม  เช่นโลกหมายถึงแผ่นดินหรือหมายถึงสัตว์ที่ต้องอาศัยในโลกหรือหมายถึงดวงดาวก็ได้

เรามาทำความรู้จักโลกที่เราคุ้นเคยตามความเป็นจริงก่อนว่าบนโลกนี้มีการเกิดของสัตว์โลกมารวมๆกันไม่มีดีไม่มีไม่ดีเป็นเพียงกลางๆนั่นละคือความจริงตามธรรมชาติซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยที่อยู่รวมกันนั่นเอง

แต่ในพระบาลีบทนี้แปลความหมายออกไปอีกความหมายนัยหนึ่งคือมีการพูดถึงอวิชชาและความอยากเป็นเครื่องฉาบทาโลก(ทางวิทยาศาสตร์ปกติแล้วชั้นบรรยากาศคือสิ่งที่เคลือบโลกอยู่)

โลกถูกอวิชชาปิดบังแล้วไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่(และความประมาท)”

พระบาลีบทนี้ได้กล่าวถึงบุคคลที่ถูกอวิชชา(แปลว่าความไม่รู้) ปิดบังนั้นเมื่อมองเห็นโลกจะเห็นได้ทั้งแบบที่สวยงามน่าอยู่เช่นหมู่มวลดอกไม้ที่สวยงามทำให้เกิดความอยากได้อยากมีมาครอบครองเป็นของเราทำให้หลงไปเป็นทาสอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริงของโลกที่ว่าโลกเกิดจากเหตุปัจจัยมีการเปลี่ยนไปตลอดเวลาไม่มีวันจบสิ้นดังนั้นของที่เปลี่ยนแปลงตลอดก็ไม่ใช่ของจริงเพราะของจริงต้องไม่เปลี่ยนไม่มีเหตุปัจจัยเปลี่ยนเพราะหากยังเปลี่ยนได้เราเรียกสิ่งนั้นว่ามายา”, ในทางตรงข้ามหากเรามองว่าโลกไม่น่าอยู่เต็มไปด้วยความโหดร้ายมากด้วยความเบียดเบียนกันแล้วทำให้เกิดความทุกข์ใจและไม่ต้องการมีชีวิตอยู่

การเห็นโลกทั้งสองลักษณะนั้นจึงมีลักษณะที่เหมือนกันว่าถูกอวิชชาปิดบังเรียกว่ามิจฉาทิฏฐิด้วยเพราะตามความจริงแล้วเมื่อเหตุปัจจัยเกิดขึ้นย่อมเปลี่ยนและดับไปในที่สุดถ้าบุคคลใดเข้าใจอย่างนี้ก็จะไม่ตกไปเป็นทาสของความรู้สึกที่ว่าสิ่งต่างๆดีหรือไม่ดี

เรากล่าวความอยากว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลก

ความอยากโดยหลักๆแล้วมีลักษณะดังนี้

. เมื่ออยากมีอยากได้เมื่อเกิดขึ้นแล้วเราจะดึงเข้ามาหาเรามาใส่เรา

.  เมื่อไม่อยากมีไม่อยากได้เกิดขึ้นเราจะผลักไสออกไปจากตัวเรา

เมื่อเราเห็นแล้วว่าในชีวิตจริงของเรานั้นมีความอยากอวิชชาที่จะปิดบังสิ่งต่างๆทำให้เรามองไม่เห็นว่าสิ่งที่ฉาบทานั้นได้เก็บซ่อนปกปิดมิให้เราเห็นเนื้อในเช่นนี้ทำให้เราไปยึดมั่นถือมั่นดังนั้นความอยากสองสิ่งนี้เป็นภัยใหญ่หลวงเพราะเมื่อเรายึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นความทุกข์ได้รอเราอยู่แล้วเป็นแน่แท้

ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น”.

ผู้รู้กล่าวไว้ว่าความทุกข์มีพิษมากผู้ใดมีทุกข์ผู้นั้นจะมีอาการร้อนรุ่มอยู่ในใจกระวนกระวายใจเป็นเหตุให้พร้อมที่จะเกิดอารมณ์หงุดหงิดอาละวาดต่อผู้อื่นเช่นอาละวาดด้วยวาจานินทาว่าร้ายหรือมีอาการทางการกระทำเช่นทำร้ายตัวเองอย่างรุนแรงจึงมีคำเปรียบว่าความทุกข์มีพิษมาก

ดังนั้นหากเราพิจารณาเห็นความจริงของโลกแล้วว่าเกิดจากเหตุปัจจัยคือเปลี่ยนไปตลอดเวลาไม่สามารถตั้งอยู่ในสภาพเดิมได้จึงไม่มีคุณค่าอะไรให้เราเข้าไปยึดถือในขณะเดียวกันเราต้องอยู่ให้ถูกต้องตามกฎสมมุติที่คนในโลกตกลงกันแต่ด้านจิตใจแล้วนั้นย่อมต้องไม่ถูกอวิชชาปิดบังไม่ถูกความอยากฉาบทาไว้นั่นแหละคือการที่เราเห็นโลกตามที่เป็นจริงแท้นั่นเอง.

เรียบเรียงบทความธรรมบรรยายโดย ลลิต มณีธรรม

No comments yet...

Leave your comment

47886

Character Limit 400