#สัจจะไร้สิ่งคู่.

#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.

การเห็นสิ่งทั้งปวงโดยประการอื่น

โดย: Lita De Pran
ชอบ: (0)
ไม่ชอบ: (0)
Created: 08 Oct 2019

เรื่อง  การเห็นสิ่งทั้งปวงโดยประการอื่น

สพฺพํธมฺมํอญฺญโตปสฺสโตฯ- การเห็นสิ่งทั้งปวงโดยประการอื่น.

ถ้ากล่าวถึงการเห็นนั้นบุคคลต่างย่อมเห็นหรือรับรู้เรื่องราวต่างได้ไม่เหมือนกันหากแบ่งบุคคลเป็นจำพวกหนึ่งคือเป็นปุถุชนและอีกพวกหนึ่งคืออริยชนหรือชนผู้ประเสริฐการเห็นในที่นี้มิใช่การเห็นทางตาแต่หมายถึงเป็นการรับรู้สิ่งต่างผ่านทางอายตนะภายในกล่าวคือตาหูจมูกลิ้นกายและใจ, ในเรื่องราวเดียวกันปุถุชนจะเห็นแบบหนึ่งอริยชนหรือพระอริยเจ้าจะเห็นอีกแบบหนึ่ง

เมื่อปุถุชนเข้าไปรับรู้สิ่งต่างผ่านอายตนะภายในแล้วจิตก็มักจะเข้าไปหลงใหลสิ่งที่เรียกว่าอารมณ์, อารมณ์ของคนทั่วไปนั้นจะมีลักษณะเป็นอารมณ์รักเกลียดพอใจหรือไม่พอใจอารมณ์ดีอารมณ์เสีย, ส่วนคำว่าอารมณ์ทางพุทธศาสนาแปลว่าสิ่งหน่วงเหนี่ยวจิตหรือสิ่งที่จิตไปเกาะเกี่ยวอยู่แล้วยึดจิตไว้มีอย่างคือ

. รูปารมณ์คืออารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยรูป

. สัททารมณ์คืออารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเสียง

. คันธารมณ์คืออารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยกลิ่น

. รสารมณ์คืออารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยรส

. โผฎฐัพพารมณ์คืออารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการสัมผัสทางกาย

. ธรรมารมณ์คืออารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความคิด

เมื่อใดก็ตามที่เราเข้าไปหลงใหลในอารมณ์จะทำให้เราเห็นสิ่งต่างไปทิศทางอย่างหนึ่งซึ่งพระอริยเจ้าและพระพุทธเจ้าจะเห็นทิศทางอีกแบบหนึ่งคือทิศทางตรงกันข้าม

บางพระสูตรบอกว่าเมื่อใดที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องกับอารมณ์ทั้งแล้วจะเกิดความรู้สึกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นตามมาเรียกว่าอภินนฺทติกล่าวคือรู้สึกเข้าไปเพลิดเพลิน, เมื่อรู้สึกเพลิดเพลินก็จะเกิดการอภิวทติคือการพร่ำสรรเสริญถึงสิ่งที่เข้าไปหลงใหลไม่หยุดปาก(เป็นคำที่ท่านอาจารย์พุทธทาสใช้), จากนั้นจะเกิดอาการอชฺฌายติฎฐติคือการหมกจมอยู่กับสิ่งนั้น, หมกจมคือการฝังตัวเข้าไปกับสิ่งนั้น(เข้าไปยึดมั่นถือมั่น)

ความเพลิดเพลินของคนเรานั้นย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล, ในความเป็นจริงนั้นสิ่งต่างที่เราเข้าไปหลงใหลเหล่านั้นเป็นเพียงสิ่งกลางไม่ได้ดีไม่ได้ชั่วไม่ได้บวกไม่ได้ลบ, แต่เมื่อใดก็ตามที่เราเข้าไปหลงเพลิดเพลินในสิ่งใดย่อมมีการสรรเสริญสิ่งนั้นไม่หยุดปากสุดท้ายก็จะหมกจมลงไป

มีอยู่ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ตรัสถามว่ามีสิ่งใดบ้างที่เราเข้าไปยึดมันถือมั่นแล้วจะไม่ให้โทษแก่เรา?” คำตอบที่พระองค์ทรงตรัสตามพระสูตรก็คือไม่มีสิ่งใดที่เราไปยึดมั่นถือมั่นแล้วจะไม่ให้โทษแก่เรา

ในการศึกษาพระพุทธศาสนานั้นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการยกระดับจิตให้เห็นความเป็นเช่นนั้นเองของสรรพสิ่งเราก็จะไม่เข้าไปเพลิดเพลินหรือหมกจมลงไปในอารมณ์ใด, วิธีการคือสร้างความเคยชินเมื่อจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายทั้งปวงด้วยความเห็นหรือรับรู้สิ่งต่างว่าเป็นเพียงเหตุเป็นเพียงปัจจัยเช่นเกี่ยวข้องกับการกินต้องไม่คำนึงถึงความอร่อยเพียงเป็นเหตุปัจจัยการดำรงชีวิตให้ดำรงอยู่ตามระยะเวลาหรือเห็นเป็นธาตุดินน้ำไฟลมหรืออีกมุมเห็นว่าว่างลงไปจากความเป็นตัวเป็นตนกล่าวคือมีเหมือนเดิมเพียงแต่ว่างลงไปจากความรู้สึกว่าเป็นตัวกูเป็นของกูเท่านั้นเอง

เรียบเรียงบทความทำบรรยาย โดยสุวรรณีตันติวีรสุต

No comments yet...

Leave your comment

50585

Character Limit 400