#สัจจะไร้สิ่งคู่.
#คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง.
อคติ ๔
เรื่อง. อคติ๔
ขออนุญาตนำธรรมบรรยายที่ท่านอาจารย์พุทธทาสได้เคยกล่าวไว้ในธรรมบรรยายต่อบุคคลากรในขบวนการยุติธรรมเรื่อง“อคติ๔” มาอธิบายต่อญาติธรรมวันนี้ด้วย
คำว่า“อคติ” (แปลว่าลำเอียง) ดังนั้นจึงเห็นว่าหัวข้อธรรมนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสังคมไทยในปัจจุบันนี้“อคติ๔” ประกอบไปด้วย
๑.ฉันทาคติคือใจปรุงแต่งไปในทาง“ชอบ” อันนำไปสู่ความชอบเป็นพิเศษคือลำเอียงเพราะชอบเพราะรักนั่นเองตัวอย่างเช่นข่าวเรื่องนักเรียนกลุ่มวัยรุ่นยกพวกตีกันโดยเพราะเพียงสาเหตุปกป้องเพื่อนในสถาบันด้วยเหตุนี้ฉันทาคติจึงสำคัญมากและหากมีการเบียนเบียดกันอยู่เป็นนิจแล้วจะเป็นปัญหาต่อสังคมอย่างมาก
๒.โทสาคติ(โทสะ) อคติเพราะโทสะเพราะความโกรธความเกลียดชังตัวอย่างเช่นบางครั้งมีคนไม่ชอบเราโดยไม่ทราบสาเหตุเป็นต้นสิ่งนี้นับว่าอันตรายต่อขบวนการยุติธรรมอย่างมากเพราะหากต้องทำหน้าที่พิจารณาตัดสินความถูกต้องจึงไม่สมควรให้“โทสาคติ” ครอบงำจิตใจได้
๓.โมหาคติคือลำเอียงเพราะความเขลาหรือความไม่รู้นั่นเองตัวอย่างเช่นเราไปรับฟังเรื่องราวเรื่องหนึ่งแล้วปักใจเชื่อหลงเชื่อโดยไม่คิดหาความรู้ความถูกต้องก่อนในกรณีนี้ให้ถือหลัก“กาลามสูตร๑๐ประการ” คืออย่าพึ่งปลงใจเชื่อด้วยเหตุการณ์ฟังตามๆกันมาเป็นต้นสิ่งที่ทำให้เกิดโมหาคติคือความยึดมั่นถือมั่น“ตัวกูของกู” การมีชื่อเสียงคือสิ่งสมมติไม่ควรเข้าไปยึดเข้าไปถือจึงควรใช้ปัญญาเพื่อขจัดโมหะให้หมดไป
๔.ภยาคติคือลำเอียงเพราะความกลัวตัวอย่างเช่นการตกอยู่ในอำนาจมืดทำให้เกิดความกลัวและหากต้องทำหน้าที่เกี่ยวกับความยุติธรรมแล้วจะทำให้เกิดความกลัวภัยมาสู่ตนจึงอาจเกิดโทษมหันต์ต่อขบวนการยุติธรรมในสังคมได้
ดังนั้นเรื่องของอคติ๔ข้อนี้จึงสมควรได้รับการปลูกฝังให้ปรากฏมีขึ้นในสังคมของประเทศไทยให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องสืบต่อไปเพื่อความสุขความเจริญในธรรมโดยปราศจาก“อคติ๔” (รักชังเขลากลัว) อันจะทำให้เกิดความแตกแยกต่อสังคมในที่สุด
เรียบเรียงธรรมเทศนาโดยลลิตมณีธรรม